เป็นถ้ำน้ำและถ้ำบกที่บางส่วนมีการเกิดของหินงอก และหินย้อยอยู่แต่น้อยมาก ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ลักษณะภูมิประเทศแบบหินปูน (Karst topography) ลักษณะทางธรณีวิทยา ประกอบด้วยหินแข็งยุคไทรแอสสิกตอนกลาง (Triassic : Tr2)
หินที่พบในพื้นที่ประกอบด้วยหินปูนสีเทาเข้ม (Limestone) หินยุคนี้อยู่ในช่วงอายุประมาณ 230-250 ล้านปี ปากทางเข้าถ้ำสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 143 เมตร แนวโถงถ้ำที่เปิดให้เข้าท่องเที่ยวแล้วมีโถงเดียวมีความยาว รวม 696.66 เมตร และโถงย่อยอีกชั้นแต่ยังไม่เปิดให้ท่องเที่ยว มีความยาวรวม 228.84 เมตร ในโถงถ้ำหลักนั้นพบว่ามีปล่องแสงจำนวน 2 จุด อีกจุดหนึ่งสามารถทะลุออกอีกฝั่งได้
แร่ที่พบเป็นแร่แคลไซต์ (calcite) ได้แก่ หินย้อย หินย้อยหาแสง หินงอก เสาหิน หินน้ำไหล และตะกอนภายในถ้ำ ได้แก่ เศษหินถล่มจากหินน้ำไหล และหินปูน และพบหลักฐานที่แสดงถึงวิวัฒนาการของถ้ำจำนวนมาก เช่น ระดับพื้นถ้ำเก่า หินถล่มขนาดเล็ก และใหญ่จำนวนมาก รอยแตกแบบมีแรงดึง (Tension Crack) นอกจากนี้ยังพบรอยระดับน้ำ หลุมยุบ และการแตกของผนัง
++++++++++
ใหม่ !! Good TV ทีวีดาวเทียมระบบสมาชิก จาก Next Step “สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้” ชมหนัง ซีรี่ย์ จาก Fox สารคดี จากสำรวจโลก และ National Geographic HD ชัดที่สุด Full HD 1080p เหมาะกับทีวีจอใหญ่ 50+ นิ้ว รายเดือนเพียง 300 บาท สมัครวันนี้ค่าอุปกรณ์เพียง 990 บาท
ดูรายละเอียด www.tv.co.th
โทร 020263399
สอบถามผ่าน Line @goodtv
++++++++++
ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี
เนื่องจากถ้ำแม่อุสุไม่เป็นแหล่งโบราณคดี แต่เป็นถ้ำตามธรรมชาติ การศึกษาหรือการสำรวจจึงเป็นส่วนของการทำผังถ้ำหรือการศึกษาเกี่ยวกับถ้ำและสิ่งแวดล้อมมากกว่าการศึกษาทางโบราณคดี แต่จากข้อมูลทราบว่าถ้ำแม่อุสุถูกค้นพบก่อนปี พ.ศ. 2530 โดยไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ค้นพบคนแรก
หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเข้ามาใช้พื้นที่ของมนุษย์มีเพียงการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น การสร้างบันได ซึ่งอยู่ในสมัยปัจจุบัน และจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ทราบว่าในอดีตถ้ำแม่อุสุเคยมีพระพุทธรูปวางอยู่ตามจุดต่าง ๆ ภายในถ้ำ แต่ในปัจจุบันไม่มีอยู่แล้ว ซึ่งพระพุทธรูปนั้นก็เป็นพระพุทธรูปที่ชาวบ้านนำมาถวายแล้ววางไว้ตามจุดต่าง ๆ
ต้นไม้และพืชในถ้ำ
พื้นที่มีความลาดชัน 25 – 35 องศา ดินชั้นบนสุดเป็นดินร่วน ชั้นดินบาง และมีเรือนยอดปกคลุมไม่หนาแน่นนัก บริเวณโดยรอบเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และใบยาสูบ พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่ในแปลงสำรวจเป็นพันธุ์ไม้ที่ผลัดใบขึ้นปะปนอยู่กับไผ่ซาง ไม้ต้นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกตั้งแต่ 4.5 เซนติเมตร หรือมีเส้นรอบวงตั้งแต่ 15 เซนติเมตร ขึ้นไป มีจำนวนทั้งสิ้น 21 ต้น โดยต้นไม้ทั้งหมดสามารถระบุชนิดพันธุ์ได้ 14 ชนิด และไม่สามารถระบุชนิดพันธุ์ได้ 3 ชนิด โดยชนิดพันธุ์ที่เป็นไม้เด่นในสังคม 5 อันดับแรก คือ มะแฟน (Protium serratum) แดง (Xylia xylocarp) ตะคร้อ (Schleichera oleosa) ยมหิน (Chukrasia velutina) และมะเกว๋น (Flacourtia indica)
พันธุ์ไม้ทั้งหมดมีความสูงตั้งแต่ 2.5-20 เมตร โดยพันธุ์ไม้ที่สูงและใหญ่ที่สุด คือ ต้นมะแฟน ส่วนแดงและตะคร้อ
เนื่องจากถ้ำแม่อุสุ เป็นถ้ำที่มีปล่องแสงส่องเข้าทางทางด้านหลังถ้ำ และปล่องเปิดช่วงตรงกลางถ้ำ และในช่วงฤดูฝนน้ำลำน้ำแม่อุสุที่ไหลเข้าปากถ้ำและไปออกด้านหลังถ้ำจะมีความแรงมาก ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวจึงปิดพื้นที่สำหรับการท่องเที่ยว (วิกิพีเดีย)
(4243)