อากาศเปลี่ยนอาจทำระบบนิเวศล่มสลาย จากการวิจัยสภาพอากาศในอังกฤษพบว่า ฤดูใบไม้ผลิมาเยือนเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลเป็นลูกโซ่ในระบบนิเวศ
ศาสตราจารย์ Ulf Buntgen จากเคมบริดจ์กล่าวว่า จากการวิจัยพืชกว่า 400 ชนิด พบว่าค่าเฉลี่ยเวลาการบานของดอกไม้ในช่วงปี 1987- 2019 เร็วกว่าในช่วงปี 1753 -1986 ประมาณ 1 เดือน
ซึ่งความเสี่ยงทางนิเวศวิทยาจากการที่พืชออกดอกเร็วขึ้นอาจทำให้พืชบานเร็วเกินไป และทำให้น้ำค้างแข็งทำลายพืชผล แม้ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ที่ชาวสวนส่วนใหญ่เคยประสบมาก่อน แต่หากเป็นแบบนี้ต่อไปจะส่งผลกระทบกว้างกว่าที่คิด
ความเสี่ยงที่ใหญ่กว่านั้นก็คือความไม่ตรงกันทางนิเวศวิทยา พืช แมลง นก และสัตว์ป่าอื่น ๆ ซึ่งมีวิวัฒนาการร่วมกันจนถึงจุดที่ทุกส่วนเชื่อมโยงถึงกันหมด ดอกไม้จากพืชบางชนิดจะดึงดูดแมลง ซึ่งแมลงดึงดูดนก เป็นต้น
แต่หากองค์ประกอบหนึ่งตอบสนองได้เร็วกว่าส่วนประกอบอื่นๆ ก็มีความเสี่ยงที่พวกมันจะทำงานไม่สอดประสานกัน ซึ่งอาจทำให้ระบบต่าง ๆ ในธรรมชาติ และมีสายพันธุ์พืชและสัตว์ล่มสลายได้ หากพวกมันไม่สามารถปรับตัวได้เร็วพอ
ภาพดอก daffodil หนึ่งในดอกไม้ที่ได้รับการสำรวจ
(60)