ภาพถ่ายดวงจันทร์จำลองของ James Nasmyth ในปี 1874 เกือบ 150 ปีมาแล้ว

ในปี 1874 นักดาราศาสตร์และนักประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมสมัยใหม่ในตอนนั้น ได้ร่วมกันเปิดเผยหนังสือที่มีอิทธิพลมากที่สุดเล่มหนึ่ง ซึ่งก็คือหนังสือธรณีวิทยาของดวงจันทร์ โดยตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า ดวงจันทร์ : ซึ่งถือเป็นดาวเคราะห์และดาวบริวารของโลก หนังสือเล่มนี้มีจำนวนความหนาที่ 276 หน้า โดย James Nasmyth และ James Carpenter ได้ใช้เวลาในการทำวิจัยและคิดค้นข้อสรุปนี้มามากกว่าสามทศวรรษเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับดวงจันทร์ทั้งหมด การวิจัยนี้ครอบคลุมไปถึงนักดาราศาสตร์คนอื่นที่มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับดวงจันทร์ ด้วยความพยายามที่จะหาคำตอบให้กับคำถามที่ยังไม่สามารถตอบได้เกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่นว่า ดวงจันทร์นั้นสามารถมีอิทธิผลต่อชีวิตได้ไหม? บนดวงจันทร์มีชั้นบรรยากาศเหมือนบนโลกหรือไม่ และหลุมอุกกาบาตเหล่านั้นมันเกิดขึ้นได้อย่างไรและเพราะอะไร ซึ่งคำถามต่างๆเหล่านี้ ก็เป็นคำถามที่ในยุคนั้นยังไม่สามารถมีใครให้คำตอบกับเรื่องนี้ได้ มันจึงดูเป็นเรื่องที่ไกลเกิดตัวที่จะคาดเดาถึงคำตอบที่แท้จริง

รูปถ่ายพร้อมข้อความใต้ภาพของดวงจันทร์จำลองนั้นเป็นรูปถ่ายที่แสดงให้เห็นพื้นผิวของดวงจันทร์ โดยภาพถ่ายดังกล่าวเป็นภาพถ่ายทีมีความละเอียดสูง ที่แสดงรายละเอียดของพื้นผิวดวงจันทร์อย่างใกล้ชิด และด้วยคุณภาพที่ออกมาเหมือนจริงแบบนั้น ทำให้ภาพดวงจันทร์เทียมดูเหมือนกับภาพถ่ายดวงจันทร์ของจริงที่มาจากภารกิจอพอลโล่ ซึ่งในตอนนั้นยานอพอลโล่ก็ยังไม่สามารถที่จะขึ้นบินไปถึงดวงจันทร์ได้ กว่าภารกิจอพอลโล่จะได้เกิดขึ้นได้ก็ผ่านมาอีกหลายศตวรรษแล้ว ในขณะที่มันดูเป็นเรื่องยากและเป็นไปไม่ได้เลยที่จะถ่ายรูปภาพดวงจันทร์ด้วยความละเอียดสูงแบบนั้นออกมา เนื่องด้วยวิทยการก็ไม่ได้มีเหมือนในโลกปัจจุบันที่สามารถถ่ายภาพพื้นผิวของดวงจันทร์ด้วยความละเอียดสูงจากกล้องโทรทรรศน์ประสิทธิภาพสูงหรือมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยของกล้องถ่ายภาพในสมัยนี้ หากเราย้อนกลับไปในยุคที่การถ่ายภาพยังเป็นเรื่องใหม่ที่คนทั่วไปยังไม่สามารถเข้าถึงได้และปราศจากเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการถ่ายภาพโดยตรงผ่านกล้องโทรทรรศน์…

ถ้าเป็นแบบนั้นแล้ว James Nasmyth สามารถถ่ายภาพเหล่านี้ออกมาได้ยังไงล่ะ?

คงเป็นคำถามที่หลายคนนึกสงสัย เราจะตอบคำถามนี้ให้กับคุณเอง อย่างแรกเลยที่ James Nasmyth ทำคือการสร้างแบบจำลองดวงจันทร์นี้ขึ้นมาจากการหล่อปูนปลาสเตอร์ เขาจำลองพื้นผิวดวงจันทร์ออกมาด้วยความละเอียดและพิถีพิถัน โดยแบบจำลองพื้นผิวบนดวงจันทร์ของเขานั้นมาจากการที่เขาใช้กล้องโทรทรรศน์ที่เขาทำขึ้นมาเอง เพื่อใช้สังเกตพื้นผิวดวงจันทร์ให้ได้อย่างละเอียดที่สุด ต่อมาเขาถ่ายรูปดวงจันทร์เทียมด้วยการนำแบบจำลองของเขาไปตั้งไว้ด้านหน้ากับฉากสีดำและใช้ไฟส่องเข้าไปที่แบบจำลองดวงจันทร์ให้ดูเหมือนกับรังสีของแสงดวงอาทิตย์ที่ฉายแสงตกกระทบหลุมอุกกาบาตและกลุ่มภูเขาบนดวงจันทร์

“ผลลัพธ์นั้นออกมาสมบูรณ์แบบ สมบูรณ์แบบยิ่งกว่าภาพอัดขยายใดๆ ที่เคยมีมา” ข้อความนี้เขียนโดยหนึ่งในผู้รีวิวหนังสือในตอนนั้น

James Nasmyth อาจไม่ใช่นักดาราศาสตร์มืออาชีพ แต่ที่นี่ ที่เอดินบะระแผ่นดินเกิดของเขา Naesmyth คือชายชาวสก็อตผู้เป็นหนึ่งในวิศวกรชั้นนำแห่งยุคของเขา Nasmyth ได้โชว์ความอัจฉริยภาพอันไม่ธรรมดาของเขาตั้งแต่ที่เขายังมีอายุเพียงแค่ 17 ปี ผลงานชิ้นแรกที่เขาได้ทดลองทำขึ้นมาคือแบบจำลองเครื่องยนต์ไอน้ำ และในตอนที่เขาอายุครบ 21 ปี เขาสามารถประดิษฐ์รถยนต์ไอน้ำที่สามารถบรรทุกคนถึงหกคนได้สำเร็จ และเขาใช้เวลาอีก 2 ปีของเขาในการเข้าไปทำงานและเรียนรู้ระบบเครื่องจักรกับนักประดิษฐ์ผู้โด่งดังในสมัยนั้น Henry Maudslay โดยเขาได้เดินทางไปพักและทำงานกับ Henry Maudslay ที่เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ ทว่าในภายหลังเขาก็ได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองแมนเชสเตอร์ ที่ๆ เขาได้เริ่มทำธุรกิจโรงเหล็กขึ้นมา และในระยะเวลาเพียงไม่นานจากนั้น เขาและหุ้นส่วนทางธุรกิจของเขาได้สร้างเครื่องจักรกลหนักขึ้นมา เขาตั้งใจที่จะผลิตมันเพื่อเป็นเครื่องจักรที่สามารถใช้ในอุตสาหกรรมโรงงาน หรือสำหรับการผลิตท่อนเหล็กรางรถไฟและสำหรับใช้ในการสร้างเรือยนตร์ขนาดใหญ่ ในตอนนั้น Naesmyth ที่อยากจะประสบความสำเร็จในเส้นทางอาชีพของเขา เขาจึงได้พยายามคิดค้นระบบเครื่องจักรไอน้ำขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า Steam Hammers แต่ทว่ามันก็ไม่ได้เป็นไปอย่างที่เขาคาดหวังเอาไว้ เมื่อคู่แข่งของเขา François Bourdon วิศวกรเครื่องกลชาวฝรั่งเศสได้เป็นผู้แก้ปัญหาระบบและสามารถออกแบบเครื่องจักรนี้ได้สำเร็จก่อนเป็นคนแรก โดย Naesmyth ได้อ้างว่าเพราะ François Bourdon ขโมยแบบที่เขาออกแบบไปต่างหาก ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นไปตามที่เขากล่าวหาหรือไม่ แต่ถึงแบบนั้นเขาก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประสบความสำเร็จกับเครื่องจักรไอน้ำขนาดใหญ่ชิ้นนี้เช่นกัน โดยการประสบความสำเร็จนี้ ก็สามารถทำให้เกษียณอายุตัวเองได้ในวัย 48 ปี มันทำให้เขาสามารถออกไปหาแรงบัลดาลใจใหม่ที่เขาสนใจได้ อย่างเช่น เรื่องดาราศาสตร์หรือการถ่ายภาพนั่นเอง

หลังจากนั้นเขาได้ย้ายไปปักหลักตั้งถิ่นฐานใหม่ใกล้กับ Penshurst, Kent และนักประดิษฐ์ก็ยังคงเป็นนักประดิษฐ์อยู่วันยังค่ำ เพราะสถานที่แห่งนี้เองที่ทำให้เขาสามารถประดิษฐ์กล้องโทรทรรศ์ขนาด 20 นิ้วขึ้นมาได้

และเพื่อเป็นการระลึกถึงผลงานอันทรงคุณค่าของเขาทั้งสองคนและยกย่องเกียรติของพวกเขาชื่อ James Nasmyth และ James Carpenter ได้ถูกตั้งให้เป็นชื่อของหลุมอุกกาบาตหลังจากที่พวกเขาได้ล่วงลับไปแล้ว

เรื่องน่ารู้จากบทความนี้

  1. โครงการอพอลโล่ที่กล่าวถึงในบทความนั้นได้เกิดขึ้นจริงในปี 1961 โดยโครงการนี้เกิดขึ้นจากการที่ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนอดี้ไดัประกาศต่อสาธารณชนว่าสหรัฐฯจะต้องไปเหยียบดวงจันทร์ให้ได้ภายในสิ้นปี 1970 โดยยานอพอลโล่ที่ประสบความสำเร็จสามารถพามนุษย์ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ได้สำเร็จ คือยานอพอลโล่ 11 และยานอพอลโล่ 17 ถือเป็นยานอพอลโล่ที่ได้ลงจอดบนดวงจันทร์เป็นครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นโครงการอพอลโล่ก็ได้ยุติลง เพราะเกิดเหตุการณ์สงครามเวียดนามขึ้น ทำให้ต้องลดงบประมาณของโครงการลง
  2.  James Carpenter เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ

[h/t Public Doman Review]

(694)