ทะเลสาบไบคาล (Lake Baikal) ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของเขตไซบีเรียในประเทศรัสเซีย เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีความลึกที่สุดในโลก โดยจุดที่ลึกที่สุดมีความลึกกว่า 1,640 เมตร และมีพื้นที่ถึง 31,722 ตารางกิโลเมตร ซึ่งทะเลสาบแห่งนี้เกิดจากการที่น้ำเอ่อล้นเข้ามาจนเต็มรอยแตกของเปลือกโลกที่เกิดขึ้นเมื่อ 25 ล้านปีที่แล้ว
และในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในปี 1996 ให้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นมรดกโลก โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา คือ
- เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
- เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทาง ธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
- เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
- เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะ อันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจ
ในเวลาปกติทะเลสาบแห่งนี้ก็เป็นเพียงทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ธรรมดา แต่เมื่อฤดูหนาวมาถึง โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศหนาวจัดระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ทะเลสาบนี้จะแข็งตัวกลายเป็นน้ำแข็งทั้งหมด ซึ่งเต็มไปด้วยปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าตื่นตะลึงมากมาย
และเมื่อไปยังเกาะโอล์คอน (Olkhon Island) เกาะที่ใหญ่ที่สุดในทะเลสาบไบคาล คุณจะได้เห็นน้ำแข็งรูปทรงประหลาดที่ก่อตัวขึ้นทั่วเกาะ รวมถึงน้ำแข็งลักษณะคล้ายหินงอกหินย้อย ที่เปรียบเสมือนประติมากรรมจากธรรมชาติที่มีความงดงามจนต้องไปเห็นด้วยตาตัวเองสักครั้งในชีวิต
(3338)