นักวิทยาศาสตร์ค้นพบซากแมมมอธเพศเมียตัวสุดท้ายมีอายุกว่า 28,000 ปี ก่อนที่จะกลายเป็นมัมมี่ และชื่อของมันคือ ยูกะ ซึ่งถูกค้นพบในบริเวณเพอร์มาฟรอสที่หนาวเย็นทางตอนเหนือของไซบีเรีย
ด้วยอุณหภูมิและสภาพอากาศที่หนาวเย็นทำให้ซากของแมมมอธที่ถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี และถูกค้นพบในปี 2010 ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ในประเทศญี่ปุ่นเริ่มสืบค้นร่องรอยที่มาในการสูญพันธุ์ทางชีวภาพของแมมอธ โดยการปลูกถ่ายเซลล์นิวเคลียสของยูกะ ลงในเซลล์ไข่ของหนู
เคอิ มิยาโมโตะ นักพันธุวิศวกรรมจากมหาวิทยาลัยคินได กล่าวว่า “สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า แม้จะผ่านไปหลายปีแล้วเซลล์ยังสามารถเจริญเติบโตและส่วนนึงของมันสามารถสร้างใหม่ได้”
ในการทดสอบของนักวิจัยในห้องแล็บสกัดเซลล์ไขกระดูกและเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อจากซากของยูกะ จากนั้นจึงแทรกโครงสร้างของเซลล์นิวเคลียสที่มีความเสียหายน้อย เข้าไปในเซลล์ไข่ของหนูเพื่อให้เซลล์ฟื้นตัว (germ cells)
“ความสำเร็จครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญต่อการทำให้แมมมอธฟื้นคืนจากความตาย” มิยาโมโตะกล่าว และยอมรับว่าหนทางยังคงอีกยาวไกลในการฟื้นคืนชีพของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์อย่างภาพยนตร์เรื่อง Jurassic Park
(1096)