คนส่วนใหญ่คงคุ้นเคยภาพของหลุมดำในรูปแบบของวงกลมที่มีจุดสีดำสนิทอยู่ตรงกลาง (อ่านเพิ่มเติม ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษย์: การบันทึกภาพหลุมดำครั้งแรกของโลก!) แต่ล่าสุดนักวิจัยของ NASA’s Goddard Space Flight Center (GSFC) ได้เปิดเผยภาพจำลองด้านข้างของหลุมดำและลักษณะการเคลื่อนที่ของวงแหวนรอบๆ หลุมดำออกมาให้เราได้เห็นกัน
เดิมเราเคยเข้าใจกันว่าวงแหวนฝุ่นและแก๊สที่เราเห็นกันนั้นมีเพียงระนาบเดียวจนดูเหมือนกับว่ามันเป็นแผ่นแบนๆ แต่เมื่อลองขยับมามองอีกมุมด้านข้าง เรากลับเห็นว่าวงแหวนนั้นมีลักษณะคล้ายกับโอบล้อมหลุมดำทั้งด้านข้าง รวมถึงด้านบนและล่างด้วย
กลุ่มฝุ่น แก๊ส และวัตถุในอวกาศถูกดูดเข้าไปยังหลุมดำจากทุกทิศทางด้วยแรงดูดมหาศาล ซึ่งทำให้วัตถุที่อยู่ใกล้ใจกลางของหลุมดำเคลื่อนที่เร็วขึ้นและร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เกิดเป็นภาพวงแหวนสีส้มที่เราเห็นกัน แต่เมื่อเราขยับมุมกล้องไปอีกมุมหนึ่ง แสงที่ออกมาก็จะถูกบิดเบือนและเปลี่ยนรูปร่างไปตามมุมที่เรามอง ทำให้ไม่ว่าเราจะมองจากมุมไหนเราก็จะเห็นวงแหวนฝุ่นสีส้มที่อยู่รอบๆ หลุมดำอยู่ดีนั่นเอง
ที่มา NASA
(9935)