รูปแบบการตายปริศนาของไทรโลไบต์

นักวิทยาศาสตร์พบรูปแบบการตายที่แปลกประหลาดของเหล่าไทรโลไบต์จากช่วงยุค Ordovician  ที่ถูกฝังกลบด้วยตะกอนจากพายุที่รุนแรงใต้ทะเลตั้งแต่ 480 ล้านปีที่แล้ว เมื่อพวกมันเข้าแถวต่อกันอย่างเป็นระเบียบที่พื้นใต้ทะเลโดยใช้หนวดแตะท้ายลำตัวของตัวหน้าไว้ 

ทำไมพวกมันถึงอยู่เรียงกันแบบนั้นได้? ในวันนี้เหล่านักบรรพชีวินสามารถให้คำตอบได้แล้วว่า นี่อาจเป็นหนึ่งในวิธีการเข้าสังคมของสิ่งมีชีวิตยุคดึกดำบรรพ์ สัตว์หลายชนิดในปัจจุบันก็มีพฤติกรรมการเข้าสังคม ไม่เว้นแม้แต่สัตว์ขาปล้อง ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดคือแมลงอย่างมดและผึ้ง รวมถึงแมงมุมและหนอนเองก็มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วย
ในช่วงแรกของการศึกษาพฤติกรรมบ่งบอกถึงพฤติกรรมโดยรวมของพวกมัน ไม่ว่าจะเป็นการอพยพหรือการสืบพันธุ์ แต่ยังไม่มีการศึกษาใดที่เปิดเผยถึงรูปแบบการเข้าสังคมของพวกมัน จนกระทั่งเมื่อ 10 ปีที่แล้วนักบรรพชีวินได้พบกับฟอสซิลอาร์โทรพอดจากยุค Cambrian หรือเมื่อ 541-485 ล้านปีก่อน ที่มีการเชื่อมโยงระหว่างกัน

Jean Vannier นักธรณีวิทยาจาก Université de Lyon และทีมวิจัยจากนานาชาติได้อธิบายถึงการเรียงแถวของเหล่าไทรโลไบต์สายพันธุ์ Ampyx priscus ที่พบในพื้นที่ขุดค้นใกล้กับโมร็อกโคไว้ว่า พวกมันตาบอดแต่มีหนวดยาว มีตัวหนึ่งอยู่หน้าสุด ส่วนตัวที่ 2 และตัวอื่นๆ ก็เรียงต่อกันมาอย่างเป็นระเบียบเป็นแถวเดี่ยวโดยใช้หนวดแตะท้ายลำตัวของตัวหน้าไว้ คาดว่าพวกมันมีอวัยวะที่มีเซ็นเซอร์พิเศษสำหรับการสื่อสารระหว่างกันและนำทางใต้ทะเล

นอกจากนี้การเดินทางร่วมกันแบบเรียงแถวยังถูกพบได้ในสัตว์ตัวปล้องยุคปัจจุบันอย่างล็อบสเตอร์ด้วย โดยในฤดูใบไม้ร่วงใต้ทะเลจะมีความแปรปรวนของคลื่นจนเกิดเป็นพายุ ล็อบเตอร์นับพันตัวจะเข้าแถวกันเพื่ออพยพไปตามพื้นทะเลไปยังเขตน้ำลึกที่คลื่นสงบกว่า และนอกจากการอพยพเนื่องจากสภาพแวดล้อมแล้ว พวกมันอาจใช้วิธีการเดียวกันนี้ในการอพยพไปยังสถานที่สืบพันธุ์และวางไข่อีกด้วย ซึ่งการค้นพบนี้เองที่ทำให้เราได้รู้ว่า พฤติกรรมการเข้าสังคมนั้นมีในสิ่งมีชีวิตมานานถึง 500 ล้านปี ซึ่งเก่าแก่กว่าที่เราเคยคาดคิดกันไว้

ที่มา Science alert

(4361)