กระสวยอวกาศโคลัมเบีย กระสวยอวกาศลำแรกของนาซา

space shuttle columbia

กระสวยอวกาศโคลัมเบีย (Space Shuttle Columbia) ถือเป็นกระสวยอวกาศลำแรกที่ใช้งานจริงขององค์การนาซา โดยภารกิจแรกคือเที่ยวบิน STS-1 เมื่อวันที่ 12 เมษายน ถึง 14 เมษายน ในปี 1981

จนกระทั่งวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2003 ภารกิจของกระสวยได้จบลงพร้อมกับเหตุสะเทือนขวัญคนทั่วโลก กับภารกิจ STS – 107 ที่เกิดระเบิดขึ้นเหนือน่านฟ้าเท็กซัสขณะกำลังกลับสู่โลก และทำให้ลูกเรือในยานทั้ง 7 คนเสียชีวิตทำให้โครงการด้านกระสวยอวกาศต้องหยุดชะงักไปกว่าสองปีหลังจากอุบัติเหตุครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นเหตุโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่หลังจากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์

space shuttle columbia

การสร้างยานโคลัมเบียเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2518 ที่ ในเมือง Palmdale รัฐแคลิฟอร์เนีย โคลัมเบียเป็นชื่อตั้งตามหลังจากเรือใบ honored Columbia ของฐานเรือใบเมืองBoston โดยกัปตันเรือ Robert Grey ชาวอเมริกันได้ทำการเดินทางสำรวจแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือและเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่ใช้เรือใบสำรวจของโลก หลังสร้างยานเสร็จยานได้ถูกส่งมาที่ศูนย์อวกาศจอร์น เอฟ เคนเนดี ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2522 สู่การเตรียมยิงปล่อยครั้งแรก ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2524 ในระหว่างเตรียมทดสอบภาคพื้นดินได้มีสองคนงานเกิดการสลบจากการขาดอากาศขณะที่กำลังทำการล้างไนโตรเจน จนทำให้ทั้งสองเสียชีวิต

รวมแล้วกระสวยอวกาศโคลัมเบียใช้ปฏิบัติภารกิจมาแล้ว 28 ครั้ง รวมเวลาในอวกาศ 300.74 วัน โคจรรอบโลก 4,808 รอบ เป็นระยะเดินทางรวม 201,497,772 กิโลเมตร

(193)