การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Plant Science กล่าวถึงการทดลองปลูกผักกาดหอมบนอวกาศ พบว่าไม่เพียงแต่อร่อยเท่านั้น แต่มันยังมีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัยในการกินเหมือนผักกาดหอมบนโลกอีกด้วย
เป้าหมายสำคัญขององค์การนาซ่าคือการผลิตอาหารที่สามารถเติบโตอย่างปลอดภัยและสดใหม่ เพื่อเสริมโภชนาการให้กับเหล่านักบินนอกเหนือจากอาหารสำเร็จรูปที่พวกเขาเคยกินเป็นประจำ
หลังจากการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนเกี่ยวกับผักกาดหอมที่ปลูกบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) นักวิจัยสรุปว่ามันแทบจะไม่มีความแตกต่างใดๆ เมื่อเทียบกับผักกาดหอมที่ปลูกบนโลก ยกเว้นการเปลี่ยนแปลงในปริมาณที่เล็กน้อยของโลหะบางชนิด อย่างเหล็ก โพแทสเซียม และสังกะสี
นักบินอวกาศทดลองปลูกผักกาดหอมบนสถานีอวกาศนานาชาติระหว่างปี 2014 – 2016 เปรียบเทียบกับการปลูกผักกาดหอมบนโลกโดยการควบคุมของ NASA ผลลัพธ์คือ ผักกาดหอมจากทั้งสองแหล่งเหมือนกันเกือบทุกประการ แม้กระทั่งจุลินทรีย์ที่พบในพืช
แต่ผลการทดลองแค่นี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากผักกาดหอมเป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายกว่าผักอื่นๆ ในปีนี้ทางนาซาจึงจะทดลองปลูกมะเขือเทศและพริก ซึ่งพวกเขาหวังว่ามันจะมีสภาพการเจริญเติบโตที่คล้ายกัน แต่เนื่องจากใช้เวลานานในการเติบโต (80 วันเทียบกับผักกาดที่ใช้เวลาเพียง 28 วัน) จึงจำเป็นต้องใช้เวลาและทรัพยากรมากขึ้น
ที่มา sciencealert
(394)