รู้หรือไม่ว่าภาพสุดสยองนี้เป็นของสัตว์ชนิดใด?

เฉลย… นี่คือภาพภายในปากของเต่าทะเลนั่นเอง ปากของพวกมันถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่น่ามหัศจรรย์ที่สุดในธรรมชาติเลยก็ว่าได้ มันช่างดูขัดกับรูปลักษณ์ภายนอกของเจ้าตัวยักษ์ใจดีเหล่านี้เหลือเกิน แต่เขี้ยวเหล่านี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อฉีกเหยื่อ แต่มันมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้น

ศิลปินและนักชีววิทยา Helen Kairo หรือที่รู้จักกันดีในนาม Anatomika Science ได้สร้างชุดภาพเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารของเต่าทะเลขึ้นและเผยแพร่ลงบนอินสตาแกรมของเธอ เพื่ออธิบายว่าทำไมพวกมันจึงมีอวัยวะพิเศษที่ดูเหมือนกับเอเลียนอยู่ภายในปากของพวกมัน

(ภายในปากและลำคอของเต่าทะเลจะเต็มไปด้วยเขี้ยวที่ลู่ไปด้านหลัง)

 

(มันคือเครื่องมือป้องกันการสำรอก เพราะในแต่ละครั้งที่พวกมันกินอาหาร มันจะกินน้ำทะเลเข้าไปด้วยเป็นจำนวนมาก)

 

(เมื่อท้องของมันเต็มไปด้วยอาหารและน้ำทะเล พวกมันจึงต้องพ่นน้ำทะเลออกมา กับดักอันแหลมคมเหล่านั้นก็จะช่วยกักอาหารเอาไว้ไม่ให้ออกมากับน้ำนั่นเอง)

 

(ไม่ต้องตกใจไปหากคุณได้เห็นภาพนี้ พวกมันสบายดี มันแค่สำรอกน้ำทะเลออกมา แต่เหตุที่น้ำเป็นสีแดงสด นั่นเป็นเพราะพวกมันกินสาหร่ายทะเลสีแดงเข้าไปต่างหาก)
(นี่คือภาพเปรียบเทียบการปล่อยน้ำออกจากร่างกายของสัตว์ทะเลแต่ละชนิด)

เธอกล่าวว่าเธอรักวิชาชีววิทยาและการวาดภาพมาตั้งแต่เด็กๆ เธอได้รับปริญญาตรีด้านศิลปะและทำงานในอุตสาหกรรมเกมมามากมาย ก่อนที่จะได้ปริญญาโททางชีววิทยา นอกจากนี้เธอยังเคยให้คำปรึกษากับบริษัทที่ต้องการพัฒนาการสอนชีววิทยาให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ตั้งแต่เกมและโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาต่างๆ ไปจนถึงของเล่นเสริมพัฒนาการ และการออกแบบส่วนจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์

ล่าสุดเธอยังได้รับเกียรติให้เป็นอาจารย์สอนความแตกต่างระหว่างกายวิภาคมนุษย์กับสัตว์ให้กับนักศึกษาแพทย์และสัตวแพทย์ และจัดทำหนังสือเกี่ยวกับกายวิภาคสัตว์อีกด้วย

ระบบย่อยอาหารของพวกมันทำงานได้เป็นอย่างดีมาตลอด จนกระทั่ง… นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน พวกมันกินถุงพลาสติกเข้าไปเพราะคิดว่าเป็นอาหาร และทำให้ระบบย่อยอาหารของมันล้มเหลวและตายลงในที่สุด

เธอต้องการให้ผู้คนได้ชื่นชมความสลับซับซ้อนและความเฉลียวฉลาดของชีววิทยาที่เราต้องเจอในชีวิตประจำวัน และการอนุรักษ์สัตว์ก็ถือเป็นภารกิจที่สำคัญที่สุด แต่เราต้องเข้าหาธรรมชาติด้วยความเข้าใจในลักษณะทางกายวิภาคของสัตว์ พฤติกรรม และวิธีที่พวกมันมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมเสียก่อน  จึงจะสามารถเลือกวิธีการอนุรักษ์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงที่สุดได้ เราจะไม่สามารถอนุรักษ์พวกมันไว้ได้หากขาดความเข้าใจ

(20289)