โดมเกลือและธารน้ำแข็งเกลือแห่งอิหร่าน

ล้านปีที่แล้วอ่าวเปอร์เซียเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่กว่าทุกวันนี้ ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในคาบสมุทรอาหรับทางตอนใต้และอิหร่านทางตะวันตก เมื่อน้ำทะเลระเหยและชายฝั่งทะเลถดถอย มันได้ทิ้งเกลือปริมาณมหาศาลไว้ ชั้นของเกลือปกคลุมไปด้วยตะกอนที่ถูกชะลงมาจากภูเขาด้วยน้ำฝน และเมื่อเวลาผ่านไปชั้นตะกอนก็ข้นขึ้น มีขนาดเล็กลงและกดทับไปในใต้ชั้นเกลือ

ภายใต้สภาวะแวดล้อมเช่นนี้เกลือเริ่มทำตัวเหมือนตัวนำของเหลวที่นำไปสู่พฤติกรรมที่น่าสนใจที่เรียกว่าการแปรสัณฐานของเกลือ ความสูงของตะกอนและหินหลายพันฟุตที่กดลงบนชั้นเกลือทำให้เกิดเกลือเคลื่อนผ่านหินที่วางอยู่  เมื่อพบจุดอ่อนในชั้นที่อยู่เหนือตะกอน เกลือจะผ่านเข้าไปในนั้นและสร้างโดมที่เรียกว่า diapir ขึ้น โดยในบางครั้ง diapir จะทำลายพื้นผิวและแพร่กระจายในแนวนอนกลายเป็นธารน้ำแข็งเกลือ

การก่อตัวของเกลือที่น่าทึ่งเหล่านี้สามารถมองเห็นได้ในพื้นที่ทางตอนใต้ทิศตะวันตกเฉียงใต้และตอนกลางของอิหร่านตัวอย่างที่ดีที่สุดพบได้ในภูเขาซาโกรส ที่ขนานกับชายฝั่งของอิหร่านในอ่าวเปอร์เซีย ภูเขาซาโกรสเกิดขึ้นเมื่อแผ่นเปลือกโลกอาหรับชนกับแผ่นยูเรเซียน จนทำให้เกิดสันเขาและรอยเลื่อนจำนวนมาก ที่เหมาะสมต่อการก่อตัวของ diapir

ยังไม่มีที่ใดในโลกที่สามารถสะสมโดมเกลือดังกล่าวได้ตามข้อกำหนดที่ยูเนสโกระบุไว้ ทำให้ที่แห่งนี้ยังไม่ถูกจัดเป็นมรดกโลก แต่อยู่ระหว่างการพิจารณา

เฉพาะทางใต้ของเทือกเขาซาโกรสที่เดียวนั้น มีโดมเกลือมากกว่า 130 แห่งที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของภูเขาซาโกรส ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบชั้นหินคดโค้งที่สำคัญที่สุดในโลก ด้านข้างของโดมเกลือมีถ้ำเกลือที่ยาวที่สุดในโลก ระยะทางกว่า 6.4 กม. ในภูเขา Namakdan รวมถึงธารน้ำแข็งเกลือ หุบเขาเกลือ หลุมยุบใต้ดิน และน้ำพุเกลือ

ในอนาคตโดมเกลือของอิหร่านอาจมีความเสี่ยงในการสำรวจน้ำมัน เนื่องจากชั้นหินแข็งบางส่วนที่พบในโดมเกลือมักจะดักปิโตรเลียมไว้ และที่ผ่านมาโดมเกลือในภูมิภาคอื่น ๆ เช่น ในสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก แถบทะเลเหนือ เยอรมนี และโรมาเนีย ก็ถูกใช้เป็นแหล่งปิโตรเลียมที่สำคัญมาหลายปีแล้ว

ที่มา amusingplanet

(607)