หนอนที่สามารถแก้ปัญหามลพิษได้เพียงไม่กี่นาที

เมื่อนักวิจัยได้ค้นพบว่าหนอนผีเสื้อที่มักนิยมเลี้ยงเป็นเหยื่อตกปลาสามารถย่อยสลายถุงพลาสติกที่ทำจากโพลีเอทิลีนได้ หนอนผีเสื้อที่เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อราตรีเป็นที่รู้จักกันดีว่าปรกติมันจะกินขี้ผึ้งในรังผึ้ง ซึ่งระบบการย่อยโครงสร้างทางเคมีของพลาสติกคล้ายคลึงการกินขี้ผึ้ง

ความสามารถในการทำลายพลาสติกของพวกมันได้รับการค้นพบโดยบังเอิญเมื่อนักวิจัยจากสถาบัน Biomedicine และ Biotechnology of Cantabria (CSIC) ในสเปน (ที่บังเอิญเป็นคนเก็บผึ้งสมัครเล่น) กำลังกำจัดปรสิตออกจากรังผึ้งของเธอ
“ฉันเอาหนอนออกแล้วใส่ไว้ในถุงพลาสติกในขณะที่ฉันทำความสะอาดอยู่” Federica Bertocchini จาก CSIC อธิบาย “หลังจากจัดการทุกอย่างเรียบร้อย ฉันก็กลับไปที่ห้องที่ฉันได้ทิ้งหนอนเอาไว้และพบว่าพวกมันได้กระจายไปอยู่ทุกหนทุกแห่ง พวกมันสามารถออกจากถุงได้แม้ว่ามันจะถูกปิดและเมื่อฉันตรวจสอบฉันเห็นถุงที่เต็มไปด้วยรู ”

การศึกษาได้ดำเนินการร่วมกันกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หนอนผีเสื้อราตรีประมาณ 100 ตัว ใส่ถุงพลาสติก หลังจากผ่านไป 40 นาที รูเริ่มปรากฏขึ้นและหลังจากผ่านไป 12 ชั่วโมง พบว่ามีจำนวนพลาสติกลดลง 92 กรัมจากถุงทั้งหมดในกระเป๋า อัตราการสลายตัวรวดเร็วมาก การค้นพบครั้งนี้อาจเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำจัดขยะพลาสติกที่สะสมในพื้นที่ฝังกลบและมหาสมุทร

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าทักษะการย่อยสลายพลาสติกที่น่าประหลาดใจของเจ้าหนอนมีแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับวิธีที่พวกมันย่อยสลายขี้ผึ้ง พวกเขาคาดการณ์ว่าการย่อยสลายของขี้ผึ้งและโพลิเอธิลีนเกี่ยวข้องกับการทำลายพันธะเคมีประเภทเดียวกัน
Federica Bertocchini จาก CSIC กล่าวว่า “ขี้ผึ้งเป็นพอลิเมอร์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นพลาสติกธรรมชาติและมีโครงสร้างทางเคมีที่ไม่เหมือนกับโพลิเอธิลีน หนอนผีเสื้อราตรีผลิตสิ่งที่ช่วยลดพันธะเคมีได้ บางทีอาจอยู่ในต่อมน้ำลายหรือเชื้อแบคทีเรียของพยาธิในลำไส้ ขั้นตอนต่อไปสำหรับเราคือการพยายามระบุโมเลกุลในปฏิกิริยานี้และดูว่าเราสามารถแยกเอนไซม์ที่เกิดปฏิกิริยาได้หรือไม่”

การวิจัยอาจนำไปสู่วิธีการขนาดใหญ่ในการทำลายขยะพลาสติกที่ไหลลงสู่แม่น้ำและมหาสมุทร ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่า ถุงพลาสติกโพลีเอททีลีนที่มีความหนาแน่นต่ำใช้เวลาประมาณ 100 ปีในการย่อยสลายพลาสติกอย่างสมบูรณ์

ที่มา wired

(15089)