ความคืบหน้าในการสกัดยาแก้ปวดจากพิษงูหางกระดิ่ง

ก้าวไปอีกขั้น เมื่อนักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีการใช้ยาแก้ปวดที่ได้จากการแยกส่วนประกอบที่เรียกว่า Crotoxin ของพิษงู หางกระดิ่งอเมริกาใต้ให้ปลอดภัยมากขึ้น

สาร crotoxin ที่บรรจุลงในซิลิกานั้นเป็นความหวังครั้งใหม่ของผู้ป่วยที่ทรมาณด้วยความเจ็บปวดจากความผิดปกติของระบบประสาทที่ได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ เนื่องจากอาการดังกล่าวไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวดโดยทั่วไป
Gisele Picolo ผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชวิทยากล่าวว่า เธอศึกษาโครท็อกซินมาตั้งแต่ปี 2011 ผลการทดสอบการระงับความเจ็บปวดเป็นไปในด้านบวก แต่พิษของมันยังคงเป็นข้อจำกัดที่ไม่สามารถกำจัดออกไปได้ การใช้ซิลิกาถือเป็นความคิดที่ดี นี่เป็นครั้งแรกที่เราผสานสองโมเลกุลนี้เข้าด้วยกัน

SBA-15 silica เป็นนาโนวัสดุที่มีลักษณะโปร่ง เดิมถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการผลิตวัคซีน ซึ่งช่วยในการชะลอปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นโดยวัคซีน ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายมีเวลามากพอในการจัดการกับพิษ

การทดลองกับหนูที่มีอาการปวดจากระบบประสาท ปรากฏว่าเมื่อเพิ่มโครงสร้างนาโนซิลิกา SBA-15 เข้าไปแล้ว สามารถใช้โครท็อกซินได้มากขึ้นก่อนที่จะเกิดผลข้างเคียง และทำให้โครท็อกซินออกฤทธิ์ได้นานขึ้น ในการทดลองหนึ่งพบว่าการให้โครท็อกซินเพียง 1 โดสสามารถออกฤทธิ์ระงับปวดได้นานถึง 48 ชั่วโมง

Picolo กล่าวเสริมว่า แม้ว่าสัญญาณในการเริ่มต้นจะออกมาน่าพอใจ แต่เรายังห่างไกลจากการใช้โครท็อกซินในการระงับปวด เนื่องจากการสกัดมันออกมาทำได้ยาก โครท็อกซินเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างซับซ้อน ทำให้ยากต่อการสังเคราะห์ขึ้นใหม่ แต่การศึกษาจะยังคงดำเนินต่อไป

ที่มา Science alert , Toxins

ภาพปก San Diego Zoo

(193)