ภารกิจใหม่ของนาซา: การศึกษาสภาพอากาศในอวกาศ

นาซา ได้เลือกภารกิจใหม่ที่จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจและคาดการณ์สภาพอากาศในอวกาศอันกว้างใหญ่รอบโลกของเราได้ เนื่องจากสามารถส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยี และนักบินอวกาศรวมถึงการสื่อสารทางวิทยุ

การทดลองครั้งใหม่นี้จะเป็นครั้งแรกที่จะมีการสำรวจเกี่ยวกับสภาพอากาศในอวกาศรอบโลกโดยเฉพาะภูมิภาคที่มีการเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศโลก และอาจก่อให้เกิดสัญญาณรบกวนการสื่อสารทางวิทยุ และ GPS

ภารกิจนี้มีชื่อว่า The Atmospheric Waves Experiment (AWE) มีงบประมาณค่าใช้จ่ายอยู่ที่  42 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และวางแผนที่จะเปิดตัวโครงการในเดือนสิงหาคมปี 2565 AWE จะมุ่งเน้นไปที่แถบแสงในชั้นบรรยากาศของโลกที่เรียกว่า ปรากฏการณ์ airglow คือ ปรากฏการณ์เรืองแสงอ่อนๆของชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งโมเลกุลของชั้นบรรยากาศชั้นบนๆจะถูกรังสีจากดวงอาทิตย์ทำให้โมเลกุลแตกตัว มักจะเห็นหลังดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว ทั้งนี้ เพื่อตรวจสอบสภาพชั้นบรรยากาศในส่วนนั้นว่าเกิดผลกระทบ ต่อสภาพอากาศในชั้นบรรยากาศอย่างไร

นักวิทยาศาสตร์เคยคิดว่า การรั่วไหลของแสงอุลตร้าไวโอเลตอย่างต่อเนื่องจากดวงอาทิตย์หรือที่เรียกว่า ลมสุริยะ เท่านั้นที่ส่งผลต่อภูมิภาคต่าง ๆ บนโลก อย่างไรก็ตามเมื่อเร็ว ๆ นี้พวกเขาได้เรียนรู้ว่าลมสุริยะเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงภูมิภาคบนพื้นโลก รวมถึงผลกระทบของสภาพอากาศบนโลกอีกด้วย เพื่อหาคำตอบและคลี่คลายการความสัมพันธ์นั้น โครงการ  AWE จะตรวจสอบว่าคลื่นในชั้นบรรยากาศส่วนล่างนั้นส่งผลกระทบต่อบรรยากาศส่วนบนอย่างไร

นาซายังได้เลือก Sun Radio Interferometer (SunRISE) เป็นอุปกรณ์ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเวลา 7 เดือนมูลค่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ  SunRISE  เป็น CubeSats (ประเภทของดาวเทียมขนาดจิ๋วสำหรับการวิจัยอวกาศ) หกตัวที่ทำงานเหมือนกล้องวิทยุโทรทรรศน์ตัวใหญ่ ซึ่งจะตรวจสอบพายุสุริยะในอวกาศนั้นถูกเร่งและปล่อยออกสู่ดาวเคราะห์อย่างไร

ตัวอย่างดาวเทียมประเภท CubeSats

ที่มา: NASA

(605)