ถือเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์สำคัญที่นักดาราศาสตร์ทั่วโลกต่างเฝ้ารอสำหรับปรากฏการณ์ดาวอังคารเข้าใกล้โลกรอบ 15 ปี ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 นับตั้งแต่ปี 2003 คิดเป็นระยะห่างราว 57.6 ล้านกิโลเมตร
การโครจรเข้าใกล้โลกของดาวดาวอังคารรอบนี้จะโคจรเข้าสู่จุดใกล้โลกจนเพียงพอต่อการมองเห็นด้วยกล้องโทรทรรศน์หรือตา จะเกิดขึ้นทุกๆ 15-17 ปี โดยครั้งล่าสุดเมื่อปี 2003 นั้น ระยะห่างจากโลกและดาวอังคารอยู่ที่ 55.7 ล้านกิโลเมตร ซึ่งถือเป็นระยะห่างที่ใกล้ที่สุดในรอบเกือบ 60,000 ปี
ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก
ดาวอังคารมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งหนึ่งของโลก และมีพื้นที่ผิวน้อยกว่าพื้นที่ผิวดินทั้งหมดของโลกรวมกันเพียงเล็กน้อย ดาวอังคารมีความหนาแน่นน้อยกว่าโลก มีปริมาตรประมาณร้อยละ 15 ของโลก และมีมวลประมาณร้อยละ 11 ของมวลของโลก ลักษณะปรากฏสีแดงปนส้มของพื้นผิวดาวอังคารมีสาเหตุมาจากไอเอิร์น(III) ออกไซด์ หรือสนิมเหล็ก
(2262)