พระวิหารไกรลาสที่ถูกสร้างขึ้นจากหินก้อนเดียว ถือเป็นหนึ่งในพระวิหารถ้ำที่น่าประทับใจที่สุดในอินเดีย โครงสร้างขนาดมหึมาเป็นหนึ่งใน 34 พระวิหารถ้ำและอาราม ที่รู้จักกันในชื่อ Ellora Caves ซึ่งตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของรัฐมหาราษฏระ ถ้ำแห่งนี้เป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโกและรวมถึงอนุเสาวรีย์ที่มีอายุระหว่าง 600 ถึง 1,000 ปี
พระวิหารไกรลาสมีชื่อเสียงทั้งด้านขนาดและการตกแต่งที่น่าประทับใจ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าใครเป็นผู้สร้าง แม้ว่าไม่มีบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษร นักวิชาการมักกล่าวอ้างถึงพระเจ้ากฤษณะที่ 1 ผู้ซึ่งปกครองตั้งแต่ปี 756 – 773
การระบุแหล่งที่มานี้มีพื้นฐานมาจากหลายคำจารึกที่เชื่อมโยงพระวิหารกับพระเจ้ากฤษณะ แต่ไม่มีจารึกโดยตรงของผู้ปกครองที่เกี่ยวข้องกับพระวิหาร ตามเรื่องราวที่เขียนใน Katha-Kalpataru โดย Krishna Yajnavalki เมื่อกษัตริย์ป่วยหนัก ราชินีของเขาได้สวดอ้อนวอนต่อพระอิศวรให้สามีของเธอหายดี เพื่อเป็นการตอบแทน ราชินีทรงปฏิญาณที่จะสร้างพระวิหารในนามของพระอิศวร และถือศีลอดจนกระทั่งศิขรหรือจุดสูงสุดของพระวิหารเสร็จสมบูรณ์
อาการกษัตริย์เริ่มดีขึ้นอย่างรวดเร็วและการก่อสร้างพระวิหารเริ่มขึ้น แต่ความน่ากลัวคือ ทั้งคู่คาดว่าการสร้างนั้นต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเสร็จ โชคดีที่วิศวกรที่ชาญฉลาดเข้ามาและอธิบายโดยเริ่มต้นจากยอดเขา เขาสามารถทำให้ศิขรของพระวิหารปรากฏภายในหนึ่งสัปดาห์ นี่เป็นสิ่งที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพระราชินีที่ต้องอดอาหารได้อย่างรวดเร็ว จึงมีการสร้างพระวิหารจากบนลงล่าง
แม้ว่าเหตุแห่งการสร้างจะเป็นเพียงตำนาน แต่พระวิหารไกรลาสก็ถูกสร้างขึ้นจากด้านบนจริงๆ การแกะสลักหินขนาดใหญ่แสดงให้เห็นถึงเทพเจ้าในศาสนาฮินดูที่แตกต่างกัน โดยพระวิหารแห่งนี้เน้นความสนใจเฉพาะพระอิศวร ขณะที่เดินผ่านโคปุระทางด้านซ้ายมีสาวกของพระอิศวร ในขณะที่ทางด้านขวาแสดงสาวกของพระวิษณุ ที่ฐานของพระวิหารมีสัตว์แกะสลักที่ดูเหมือนแบกน้ำหนักของพระวิหารไว้ที่หลัง
ต้องขอบคุณประติมากรรมที่ไร้ที่ติเหล่านี้ รวมถึงวิศวกรรมอันน่าทึ่งของพระวิหารไกรลาส ที่ถือเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของศิลปะและสถาปัตยกรรมอินเดียโบราณที่ยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน
ที่มา mymodernmet
ภาพปก Anwar Nillufary
(23407)