ทำความรู้จักกับ Hyperactivity หรือ โรคสมาธิสั้น ที่พบในเด็กไทยจำนวนมากในปัจจุบัน

จะเห็นได้ว่าเด็กไทยในปัจจุบันนั้นมีการใช้ชีวิตแตกต่างไปจากเด็กไทยในอดีต ปัจจุบันเด็กหันมาให้ความสนใจกับสิ่งที่อยู่ในจอเล็กๆ จนทำให้เด็กบางคนติดโทรศัพท์  มีตัวอย่างมากกมายให้เห็นว่าเด็กในปัจจุบันนั้นได้กลายเป็นโรคสมาธิสั้น หรือ Hyperactivity วันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ โรคสมาธิสั้น ให้มากยิ่งขึ้น

ใน วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 57 ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม 2555 ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ โรคสมาธิสั้นหรือ attention-deficit hyperactivity disorder (ADHD) ไว้ว่าเป็นภาวะบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมองที่มีอาการหลักเป็นความผิดปกติทางด้านพฤติกรรมใน 3 ด้าน ได้แก่

  1. ขาดสมาธิที่ต่อเนื่อง  ที่แสดงออก ด้วยการเหม่อ ไม่ตั้งใจทำงานที่ต้องใช้ความพยายาม ทำงานไม่เสร็จหรือไม่เรียบร้อย ไม่รอบคอบ วอกแวก ตามสิ่งเร้าได้ง่าย หลงลืมกิจวัตรที่ควรทำเป็นประจำหรือทำของหายบ่อย และมีปัญหาในการจัดระเบียบการทำงานและการบริหารเวลาอาการขาดสมาธิมักจะเป็นต่อเนื่องถึงวัยผู้ใหญ่
  2. ซนมากกว่าปกติหรืออยู่ไม่นิ่ง โดยมีพฤติกรรมซุกซนมากกว่าปกติชอบปีนป่าย เล่นแรงเล่นส่งเสียงดัง หยุกหยิก นั่งอยู่กับที่ไม่ได้นาน ชวนเพื่อนคุยหรือก่อกวนเพื่อนในห้องเรียน อาการอยู่ไม่นิ่งมักจะลดลงเมื่อผู้ป่วยยเข้าสู ่วัยรุ่น โดยอาจเหลือเพียงอาการหยุกหยิก ขยับตัวหรือแขนขาบ่อยๆ หรือเป็นแค่ความรู้สึกกระวนกระวายอยู่ภายในใจ
  3. ขาดการยั้งคิดหรือหุนหันพลันแล่น  ได้แก่อาการใจร้อน วู่วาม ขาดการยั้งคิด อดทนรอคอยไม่ค่อยได้พูดแทรกในขณะที่ผู้อื่นกำลังสนทนากันอยู่หรือแทรกแซงการเล่นของผู้อื่น ในห้องเรียนผู้ป่วยอาจโพล่งตอบโดยไม่ทันฟังคำถามจนจบ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยรู้สึกเสียใจกับการกระทำที่ไม่สามารถหยุดตนเองได้ทันอาการหุนหันพลันแล ่นมักเป็นต ่อเนื่องจนถึงวัยรุ ่นหรือวัยผู้ใหญ่

โดยเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ในวัยเด็ก และส่วนใหญ่มักเป็นต่อเนื่องไปจนถึงวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ หากไม่ได้รับการรักษาช่วยเหลือที่ดีอาการความผิดปกติที่เป็นจะทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งในด้านการเรียน อาชีพ ครอบครัว และสังคม การรักษาผู้ป ่วยโรคสมาธิสั้นต้องอาศัยการช่วยเหลือหลายวิธีร่วมกัน ได้แก่ การให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ การช่วยเหลือทางด้านจิตใจ การช่วยเหลือในด้านการเรียน และการใช้ยา บทความนี้เป็นการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นในเด็กและวัยรุ ่น พร้อมกับเสนอแนวทางการวินิจฉัยและรักษาตามหลักฐาน เชิงประจักษ์

คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองในการช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้น

  1. จัดสิ่งแวดล้อมในบ้านและกำหนดกิจวัตรประจำวันให้เป็นระเบียบแบบแผน
  2. จัดหาบริเวณที่สงบและไม่มีสิ่งรบกวนสมาธิสำหรับให้เด็กทำการบ้าน
  3.  แบ่งงานที่มากให้เด็กทำทีละน้อย และคอยกำกับให้ทำจนเสร็จ
  4. ควรพูดหรือสั่งงานในขณะที่เด็กพร้อมที่จะฟัง เช่น อาจรอจังหวะที่เหมาะหรือบอกให้เด็กตั้งใจฟัง
  5. บอกเด็กล่วงหน้าถึงสิ่งที่ต้องการให้ปฏิบัติและชื่นชมทันทีเมื่อเด็กทำได้หากเด็กยังทำไม่ได้อาจวางเฉยโดยไม่ตำหนิ
    หรือประคับประคองช่วยเด็กให้ทำได้สำเร็จถ้าเป็นเรื่องที่สำคัญ
  6. เมื่อเด็กมีพฤติกรรมก่อกวนที่เป็นจากอาการของโรคสมาธิสั้น ควรใช้วิธีที่นุ่มนวลหยุดพฤติกรรมนั้นหรือเบนความสนใจให้เด็กได้ทำกิจกรรมอื่นแทน
  7. หากเด็กทำผิด ควรใช้ท่าทีที่เอาจริงและสงบในการจัดการ เช่น อาจใช้การแยกเด็กให้อยู่ในมุมสงบ
    ตามลำพังชั่วคราว หรือลงโทษด้วยวิธีที่ไม่รุนแรงและเป็นไปตามข้อตกลง
  8. ให้เด็กมีโอกาสใช้พลังงานและการไม่ชอบอยู่นิ่งให้เป็นประโยชน์เช่นให้ช่วยงานบ้านที่สามารถทำได้
  9. ผู้ปกครองควรเป็นตัวอย่างที่ดีและช่วยฝึกเด็กให้มีวินัย อดทนรอคอย บริหารเวลาและจัดระเบียบในการทำกิจกรรมต่างๆ
  10. ติดต่อและประสานงานกับครูอย่างสม่ำเสมอในการช่วยเหลือเด็กด้านการเรียนและการปรับตัวในโรงเรียน

ข้อมูลเพิ่มเติม >

Good TV ช่วยพัฒนาสมองลูกของคุณได้อย่างไร  สมองมีการพัฒนาได้ดีที่สุด ตามแต่ละช่วงวัย และเริ่มสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิด จนถึงช่วงอายุ 25 ปี Good TV มีส่วนช่วยในการเสริมพัฒนาการสมองของลูกน้อย ตั้งแต่วันนี้เพื่ออนาคตการเติบโตที่ดีกว่า

(861)