ไฟจำนวนมากได้โหมกระหน่ำไปตามชายฝั่งตะวันออกของประเทศเป็นเวลาหลายเดือน ผลักดันควันจำนวนมากข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก โดยนาซ่ากล่าวว่า ควันจากเปลวไฟในวันปีใหม่ได้ข้ามทวีปอเมริกาใต้ เปลี่ยนเป็นท้องฟ้าให้มืดครึ้มและเคลื่อนที่ไปได้ครึ่งหนึ่งของระยะทางรอบโลกในวันที่ 8 มกราคม และคาดว่าควันนี้จะเดินทางรอบโลกอย่างน้อย 1 รอบ
A fleet of NASA satellites 🛰️ working together has been analyzing the aerosols and smoke from the massive fires burning in Australia.https://t.co/93geNvCBnU pic.twitter.com/ZedZ199lvJ
— NASA Goddard (@NASAGoddard) January 9, 2020
ไฟป่าหลายร้อยแห่งที่เกิดขึ้นทั่วออสเตรเลีย คร่าชีวิตผู้คนอย่างน้อย 28 คน และทำลายบ้านเรือนมากกว่า 2,000 หลัง โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ขนาดและความรุนแรงของไฟที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ควันเดินทางรอบโลกได้อย่างไร?
Nasa กล่าวว่า ไฟป่าที่ผ่านมามีขนาดใหญ่มาก ซึ่งก่อให้เกิดการก่อตัวของเมฆไพโรคิวมูโลนิมบัสที่ผิดปกติจำนวนมาก หรือพายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดจากไฟ สิ่งเหล่านี้ได้ส่งควันให้พุ่งสูงขึ้นสู่ชั้นสตราโตสเฟียร์ โดยมีบางบันทึกสูงถึง 17.7km (11 ไมล์) โดยในชั้นสตราโตสเฟียร์ ควันสามารถเดินทางได้หลายพันไมล์จากแหล่งกำเนิดของมัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพบรรยากาศทั่วโลก ตอนนี้พวกเขากำลังศึกษาผลกระทบของควันที่ระดับความสูงนี้ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้บรรยากาศเย็นลงหรือทำให้ร้อนขึ้นก็ตาม
นาซ่าระบุว่าควันเปลี่ยนสีของท้องฟ้าในอเมริกาใต้ และส่งผลอย่างมากต่อนิวซีแลนด์ซึ่งทำให้เกิดปัญหาคุณภาพอากาศรุนแรง และหิมะบนยอดเขามีสีดำขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
เมืองใหญ่ของออสเตรเลีย เช่นซิดนีย์, เมลเบิร์น, แคนเบอร์รา และแอดิเลด ยังคงมีระดับคุณภาพอากาศที่เป็นอันตรายเนื่องจากควันจากไฟป่าในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งคุณภาพอากาศที่เป็นอันตรายติดต่อกันกระตุ้นให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชน ขณะนี้ยังมีไฟป่ากว่า 100 แห่งที่ยังคงเผาไหม้อยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศ อย่างไรก็ตามสภาพอากาศที่เย็นกว่าในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ว่าฝนจะตกอาจจะช่วยดับเพลิงได้
ที่มา bbc
(10035)