ทำไมน้ำพุร้อน Dallol ในเอธิโอเปีย จึงเป็นสีเหลืองนีออน?

ห่างออกไปราวๆ 600 เมตร ทางตอนเหนือของ Addis Ababa เมืองหลวงของเอธิโอเปีย คืออาณาเขตของภูเขาไฟ Dallol ซึ่งในอดีตบริเวณนั้นเคยเป็นนิคมเหมืองแร่ที่มีประชากรอยู่อาศัยเพียงเล็กน้อย และมีการจดบันทึกอย่างเป็นทางการว่าในเขตเหมืองแร่เก่านี้ มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงมากที่สุดในโลก ขนาดที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยในแถบนั้นได้ โดยในช่วงระหว่างปี 1960 ถึง 1966 แม้ค่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียล แต่ทว่าอุณหภูมินี้ก็สามารถเพิ่มไปได้ถึง 46 องศาเซลเซียลเลยทีเดียว

ภูเขาไฟ Dallol ถือเป็นภูเขาไฟบนพื้นดินที่อยู่ต่ำที่สุดในโลก ซึ่งต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 48 เมตร การปะทุของมันครั้งล่าสุดถูกบันทึกไว้ในปี 1926 โดยการปะทุครั้งนั้นทำให้เกิดบ่อน้ำพุร้อนสีส้ม เขียว และเหลืองนีออน ซึ่งเกิดจากการที่หินหนืดร้อนปะทุขึ้นมาอยู่ใต้น้ำ และเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นมันก็จะลอยขึ้นมาสู่ผิวน้ำ ซึ่งในหินหนืดนี้ก็จะประกอบไปด้วยสารละลายเกลือ กำมะถัน โพแทช และแร่ธาตุอื่นที่อยู่ในปล่องภูเขาไฟ

อาจจะฟังดูเหลือเชื่อแต่บ่อน้ำพุร้อนแห่งนี้กลับสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวผู้กล้าหาญเข้ามาได้ทุกปี ถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงในขณะที่เดินเข้าไปบนพื้นผิวสีเหลืองนี้ เพราะหากคุณพลาดตกลงไปอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต จากน้ำกรดร้อนๆ ที่อยู่ลึกลงไปไม่กี่นิ้วนั่นเอง เพราะฉะนั้นการได้ชมความสวยงามนี้อย่างห่างๆ โดยไม่ต้องเสี่ยงภัยอันตรายน่าจะเป็นความคิดที่ดีที่สุด

ข้อมูลจาก Sciencealert

(1038)