แผ่นน้ำแข็งโบราณบนเกาะกรีนแลนด์แตกตัวครั้งแรกในประวัติศาสตร์

ปัจจุบันนี้ภูมิอากาศที่เปลี่ยนส่งผลกระทบในหลายด้านต่อโลกของเรา โดยเฉพาะพื้นที่แถบขั้วโลก ล่าสุดนักวิจัยเผยแผ่นน้ำแข็งโบราณบนเกาะกรีนแลนด์แตกตัวครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เท่าที่มีการบันทึกมา

กรีนแลนด์ดินแดนที่ได้ฉายาว่า “the last ice area”  เนื่องจากพื้นที่น่านน้ำนอกชายฝั่งทางตอนเหนือของเกาะกรีนแลนด์ ถือเป็นพื้นที่ที่หนาวที่สุดในแถบอาร์กติกหรือขั้วโลกเหนือ แต่ตอนนี้นักวิจัยเตือนว่าพื้นที่แห่งนี้กำลังตกอยู่ในอันตราย เนื่องจากคลื่นความร้อนส่งผลให้น้ำแข็งละลายลงอย่างต่อเนื่อง ในปีที่ 2018 นี้ น้ำแข็งละลายเร็วที่สุดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนสิงหาคม

ทางด้าน ศาสตราจารย์ Peter Wadhams หัวหน้า the Polar Ocean Physics Group แห่ง Cambridge University เผยว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ถือเป็นเรื่องเลวร้ายอย่างมากสำหรับสัตว์ป่าโดยเฉพาะหมีขั้วโลก และแมวน้ำ เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้บ้านของพวกมัน และหากน้ำแข็งละลายแน่นอนว่าพวกมันต้องสูญเสียบ้านไป

Ruth Mottram จาก the Danish Meteorological Institute เผยว่า น้ำแข็งเกือบทั้งหมดทางตอนเหนือของเกาะกรีนแลนด์ได้ แตกตัวขึ้นเรื่อย

น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติก ในช่วงปี 1979-2018
พื้นที่น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2018 มีพื้นที่ประมาณ 5.7 ล้านตารางกิโลเมตร เส้นสีส้มแสดงถึงขอบเขตเฉลี่ยช่วงปี 1981 – 2010 รูปภาพ: NSIDC

ที่มา : telegraph.co.uk , theguardian

 

 

(16563)