นาซาเปิดเผยภาพสามมิติของพื้นผิวดาวอังคาร

องค์การอวกาศแห่งยุโรปหรือ ESA ที่เริ่มปฎิบัติการในปี 2016 ได้ส่งภาพถ่ายอันน่าตื่นเต้นของพื้นผิวดาวอังคารกลับมา โดยยานอวกาศมีการติดตั้งเพื่อถ่ายภาพของพื้นผิวดาวอังคารในระบบ 3D ซึ่งเหล่านักวิทยศาสตร์ก็ต่างตื่นเต้นและตกใจกับภาพถ่ายที่ได้รับมานั้น

ภาพถ่ายจากมุมบนมีลักษณะคล้ายกับโครงสร้างของขนนกสีฟ้า แต่ในความจริงแล้วภาพที่เห็นคือ ภาพสีผสมเท็จ (false-colour image) ซึ่งเป็นการแปลภาพถ่ายดาวเทียมชนิดหนึ่ง  และภาพสีผสมเท็จที่เห็นนั้นคือภาพถ่ายดาวเทียมของเส้นทางลมหลายร้อยเส้นหรือที่เรารู้จักกันก็คือ ลมบ้าหมู และพายุทอร์นาโดขนาดเล็กในบริเวณ Terra Sabaeaของดาวอังคาร ซึ่งนาซาค้นพบว่าอนุภาคซัลเฟตมีแร่ธาตุที่มีโมเลกุลน้ำอยู่ด้วย

ภาพสามมิติแสดงลายเส้นของพายุลมบ้าหมูบนขอบปล่องภูเขาไฟขนาดใหญ่

อีกหนึ่งภาพที่น่าทึ่งของนาซาที่ InSight lander hammering ออกไปถ่ายรูปพื้นผิวดาวอังคารเมื่อเดือนที่แล้ว และเป็นครั้งแรกขององค์การอวกาศแห่งยุโรปที่มีการถ่ายรูปเชิงลึก แม้ว่าการตระเวนสำรวจดาวอังคารของนาซาพบข้อมูลเชิงลึกจากวงโคจรในเดือนธันวาคม

ภาพถ่ายแสดงให้เห็นถึงปากปล่องภูเขาไฟที่ซีกโลกใต้ของดาวอังคาร

ภาพที่เห็นแสดงขอบของปล่องภูเขาไฟประมาณ 120 ไมล์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของดาวอีงคารซึ่งเกิดเป็นน้ำแข็งขั้วโลกเหนือของดาวเคราะห์ และมีความคิดว่าเนินบางแห่งนั้นถูกสร้างขึ้นจาก “น้ำแข็งน้ำบริสุทธิ์” โดยสมบูรณ์แบบ

ภาพแสดงขอบของปล่องภูเขาไฟ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของดาวอังคาร

 

 

(4436)