ย้อนไปเมื่อเมื่อ 17,000 ปีที่แล้ว ในยุคน้ำแข็ง คนไทยสามารถเดินเท้าไปยังประเทศอินโดนีเซีย ด้วยทางบก เพราะเวลานั้น น้ำทะเลลดไป 120 เมตร จากระดับน้ำทะเลในปัจจุบัน
พื้นที่แห่งนี้ถูกเรียกว่า ไหล่ทวีปซุนดา (Sunda Shelf) เป็นแผ่นทวีปที่เกิดขึ้นในในยุคไพลสโตซีน ซึ่งเป็นธรณีกาลระหว่าง 2,588,000-11,700 ปีก่อน เป็นช่วงที่มียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน โดยไหล่ทวีปซุนดานั้นมีพื้นที่ประมาณ 690,000 ตารางไมล์ (1,800,000 ตารางกิโลเมตร) หากเป็นพื้นที่ในปัจจุบันก็กินพื้นที่ตั้งแต่ทะเลจีนใต้ อ่าวไทย ทะเลชวา
ปัจจุบันแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
ข้อมูลเพิ่มเติม : britannica.com
(28742)