เราอยู่ในฟองยักษ์ ทีมนักดาราศาสตร์ที่นำโดยศูนย์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งฮาร์วาร์ดและสมิธโซเนียน (CfA) สร้างแผนที่สามมิติที่แสดงให้เห็นว่าระบบสุริยะของเราอยู่กลางฟองขนาดใหญ่ที่แทบว่างเปล่า
ฟองยักษ์นี้คาดว่ามีความกว้างได้ถึง 1,000 ปีแสง มีอุณหภูมิสูงและความหนาแน่นต่ำ มีลักษณะทรงกระบอกที่บิดเบี้ยว บริเวณขอบนอกมีฝุ่นและก๊าซหนาแน่นเป็นเหมือนผนัง โดยบริเวณผิวนอกของฟองมีพื้นที่ก่อกำเนิดดวงดาวขนาดใหญ่ 7 แห่งด้วยกัน สันนิษฐานว่าฟองที่ห่อหุ้มระบบสุริยะนี้เกิดจากคลื่นของซูเปอร์โนวา (supernova) ที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 14.4 ล้านปีก่อน พัดพาสสารต่าง ๆ กระเด็นออกไปไกลจนกลายเป็นขอบนอกที่มีฝุ่นและก๊าซหนาแน่น
แม้ว่านักดาราศาสตร์จะรู้จักฟองขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Local Bubble ล้อมรอบระบบสุริยะตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970 – 1980 แต่การสร้างแผนที่สามมิติโดยใช้ข้อมูลล่าสุดของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Gaia คือหลักฐานที่ชัดเจนชิ้นแรกที่ยืนยันสิ่งนี้ และช่วยอธิบายได้ว่าการก่อตัวดาวฤกษ์ใกล้เคียงทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นได้อย่างไร
**Gaia เป็นโครงการที่ทำแผนที่ตำแหน่งและการเคลื่อนที่ของดาวในทางช้างเผือกด้วยความแม่นยำสูงสุด เพื่อทำแผนที่ก๊าซและดาวอายุน้อยภายใน 200 พาร์เซก (ประมาณ 650 ปีแสง) รอบดวงอาทิตย์
(38)