หุ่นยนต์ชีวภาพที่จำลองตัวเองได้ตัวแรกของโลก

หุ่นยนต์ชีวภาพที่จำลองตัวเองได้ตัวแรกของโลก ทีมนักวิจัยจาก Wyss Institute ที่ Harvard University และ Allen Discovery Center ที่ Tufts University ค้นพบหุ่นยนต์ชีวภาพที่จำลองตัวเองได้ด้วยการรวมกลุ่มเซลล์อื่น

xenobots ทำมาจากเซลล์ผิวหนังของกบ มีรูปร่างดูเหมือน Pac-Man เคลื่อนที่ด้วยการหมุนเป็นเกลียวตามธรรมชาติ การจำลองเซลล์ไม่ได้เกิดจากการแบ่งตัวหรือวิธีทางพันธุกรรมอื่น แต่เกิดจากการที่ส่วนที่คล้ายปากของมันทำหน้าที่ดึงเซลล์ผิวหนังที่ลอยอิสระมารวมกลุ่มกัน และเมื่อมาสัมผัสกันเซลล์จะเกาะติดกันกลายเป็นหุ่นยนต์ที่หมุนวนต่อไปตัวใหม่

การค้นพบนี้อาจใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างหุ่นยนต์ชีวภาพในอนาคต โดยหุ่นยนต์ชีวภาพเหล่านี้ จะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้และย่อยสลายได้ทางชีวภาพ พวกมันจะหมดพลังงานและเริ่มลดระดับภายใน 10 – 14 วัน โดยไม่ทิ้งไมโครพลาสติกหรือโลหะที่เป็นพิษไว้ เหลือเพียงจุดเล็กๆ ของการสลายตัวของสารอินทรีย์ นักวิจัยกำลังค้นคว้าข้อมูลที่อาจช่วยให้ซีโนบอทสามารถบรรทุกวัสดุจำนวนเล็กน้อยได้ เพื่อการใช้งานที่หลากหลาย รวมถึงการส่งยาภายในร่างกาย หรือทำความสะอาดสารเคมีที่เป็นพิษในสิ่งแวดล้อม

(28)