หินบลูเบอร์รี่ (Blueberry rocks) ถูกระบุโดยโรเวอร์ Curiosity ของ NASA ในปี 2004 ว่าเป็นหินเฮมาไทต์ซึ่งมีธาตุเหล็กสูงและไม่มีน้ำ แต่ผลการศึกษาภายหลังชี้ว่า มันถูกระบุอย่างไม่ถูกต้อง เนื่องจากขณะนั้นโรเวอร์ไม่มีเทคโนโลยีที่จำเป็นในการระบุไฮโดรเฮมาไทต์
ผลการศึกษาโดย Si Athena Chen นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Penn State พบว่า แท้จริงแล้วตัวอย่างหินนี้เป็น ไฮโดรเฮมาไทต์ (hydrohematite) ซึ่งเคยมีส่วนประกอบของน้ำอยู่ภายในหิน
ส่วนประกอบของหินชี้ว่าพื้นผิวของดาวอังคารส่วนใหญ่เกิดขึ้นขณะที่พื้นผิวเปียก และตะกอนเหล็กออกไซด์สีแดงก็เกิดขึ้นจากน้ำเหล่านั้น โดยหินไฮโดรเฮมาไทต์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จะประกอบด้วยน้ำ 3.6 – 7.8 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ซึ่งทำให้สันนิษฐานได้ว่าก่อนหน้านี้ดาวอังคารอาจเคยถูกปกคลุมด้วยน้ำมาก่อน
ภาพ NASA/JPL-Caltech/Cornell/USGS
(61)