หอยหน้าหมึก หอยงวงช้างกระดาษ

หอยหน้าหมึก หอยงวงช้างกระดาษ (Paper nautilus) เป็นสัตว์ทะเลน้ำลึกที่พบได้ยาก อาศัยในทะเลที่ห่างฝั่ง ทั้งในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ตั้งแต่ระดับผิวน้ำไปจนถึงระดับน้ำลึกประมาณ 100 เมตร ว่ายน้ำได้ดีแต่มักจะเคลื่อนตัวไปตามกระแสน้ำมากกว่าว่ายไปเอง แม้ว่ามันจะมีชื่อเป็นหอยงวงช้าง แต่จริง ๆ แล้วสายพันธุ์ของมันจัดเป็นมอลลัสคาประเภทหมึกสายไม่ใช่หอย ทำให้รูปร่างหน้าตาโดยรวมเป็นหมึกที่มีเปลือกหอยปกคลุมส่วนปลายลำตัว

เปลือกหอยงวงช้างกระดาษ จะมีเฉพาะตัวเมียเท่านั้นที่มีเปลือกหุ้มตัว เพื่อใช้เป็นที่สำหรับวางไข่และฟักไข่ ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมียมาก และไม่มีเปลือกหุ้มตัว เปลือกของมันมีลักษณะบาง เบา เปราะ และแตกหักง่าย ม้วนเป็นวงในแนวราบ วงเกลียวแรก ๆ เป็นสีน้ำตาลเข้มและค่อย ๆ จางลงเป็นสีขาวหม่นหรือสีครีมในวงเกลียวสุดท้าย ทำให้ดูเหมือนกระดาษที่พับทบไปมา

ภาพ Julian Finn / Museums Victoria

(883)