หลุมดำให้กำเนิดดาว

หลุมดำให้กำเนิดดาว กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลจับภาพขณะก่อกำเนิดดาวฤกษ์จากหลุมดำใจกลางของกาแล็กซีแคระ Henize 2-10 ห่างจากโลกประมาณ 34 ล้านปีแสง

ดาวฤกษ์นี้ถูกผูกไว้กับหลุมดำด้วย “สายสะดือ” ขนาดใหญ่ที่ทำจากก๊าซและฝุ่น ความยาว 500 ปีแสง ที่ถูกพ่นจากใจกลางของกาแล็กซีด้วยความเร็วประมาณ 1.6 ล้านกม./ชม. ไปยังดาวดวงใหม่ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่พบเห็นการก่อกำเนิดดาวจากหลุมดำ

ปรากฏกาณ์นี้เกิดจากการที่หลุมดำดูดวัสดุจากเมฆก๊าซหรือดาวที่อยู่ใกล้ ๆ ก่อนพ่นกลับไปในอวกาศในรูปของพลาสมาที่ลุกโชน ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วแสง หากความร้อนมากถึงอุณหภูมิที่เหมาะสม เมฆก๊าซที่สัมผัสกับไอพ่นก็จะกลายเป็นสถานก่อกำเนิดดาวฤกษ์ที่สมบูรณ์แบบ

หลุมดำ หมายถึงเทหวัตถุในเอกภพที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้แต่แสง ยกเว้นหลุมดำด้วยกัน เราจึงมองไม่เห็นใจกลางของหลุมดำ หลุมดำจะมีพื้นที่หนึ่งที่เป็นขอบเขตของตัวเองเรียกว่าขอบฟ้าเหตุการณ์ ที่ตำแหน่งรัศมีชวาร์ซชิลด์ ถ้าหากวัตถุหลุดเข้าไปในขอบฟ้าเหตุการณ์ วัตถุจะต้องเร่งความเร็วให้มากกว่าความเร็วแสงจึงจะหลุดออกจากขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่วัตถุใดจะมีความเร็วมากกว่าแสง วัตถุนั้นจึงไม่สามารถออกมาได้อีกต่อไป

(347)