สิ่งลึกลับที่มาจากกาแล็กซีอันไกลโพ้น ที่คุณเคยได้ยินมานั้น เคยสงสัยบ้างไหมว่ามันคืออะไร? มาจากไหน? และเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เมื่อเกิด fast radio bursts หรือ FRBs กล้องโทรทรรศน์ของโลกสามารถตรวจจับสัญญาณได้จะเกิดแสงสว่างวาบแค่เพียงมิลลิวินาที จากนั้นแสงสว่างจากการสัญญาณของกล้องนั้นจะหายไป โดยนักดาราศาสตร์ตรวจพบสัญญาณเหล่านี้หลายสิบครั้งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และเพิ่งประกาศว่าพวกเขาพบสัญญาณเหล่านี้ได้มากขึ้น และยังเป็นสัญญาณที่เกิดซ้ำๆ ซึ่งหาได้ยาก
เราไม่อาจทราบอย่างแน่ชัดได้ว่าสัญญาณเหล่านี้อยู่ที่ไหนหรือมาจากไหน? แต่มีทฤษฎีมากมายเกี่ยวกับความลับนั้น และนี่คือข้อสันนิฐาน 5 ข้อ เกี่ยวกับสัญญาณลึกลับจากอวกาศนี้
- การหมุนรอบตัวอย่างรวดเร็วจากดาวนิวตรอน
ก่อนที่ดาวระเบิด และหายไป ประจุนิวตรอนในดวงดาวจะหมุนอย่างรวดเร็ว นักดาราศาสตร์คิดว่าสนามแม่เหล็กแรงสูงจากการหมุนวนนั้นอาจทำให้เกิดสัญญาณแปลก ๆ ได้
- การปะทะกันระหว่างดวงดาวจากทฤษฎีของ Shriharsh Tendulkar นักดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัย McGill University in Montreal, Canada สถานการณ์นี้ใช้ได้กับสัญญาณ cosmic เท่านั้น ซึ่งจะเห็นเพียงครั้งเดียวจากกระบวนการที่ดาวฤกษ์ถูกทำลาย การระเบิดอย่างรวดเร็วของดาวฤกษ์จะเกิดสัญญาณ FRBs ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาอย่างไรก็ตามสัญญาณที่เกิดขึ้นนั้นจะไม่เกิดขึ้นซ้ำๆ ในการเกิดสัญญาณ FRBs ขึ้นซ้ำๆ นั้นต้องหาข้ออธิบายที่ต่างกันออกไป
- ปรากฏการณ์ “Blitzar”ปรากฏการณ์ “Blitzar” คือ ปรากฏการณ์ที่ดาวนิวตรอนหมุนตัวเองด้วยความเร็วไม่คงที่หรือช้าจนทำให้เกิดการยุบตัวจากหลุมดำเช่นกันกับการปะทะกันระหว่างดวงดาวปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเพราะเป็นกระบวนการที่ดวงดาวถูกทำลาย
- หลุมดำหลุมดำนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องในหลาย ๆ ทฤษฎี ตั้งแต่ดาวนิวตรอนที่ตกลงไปในหลุมดำจนถึงหลุมดำที่ยุบตัวกันจนเป็นหลุมดำขนาดใหญ่
- มนุษย์ต่างดาวในขณะที่บางคนเชื่อว่าสัญญาณลึกลับนั้นเกิดจากธรรมชาติ แต่ยังมีข้อสันนิฐาน และคาดการณ์ว่าสัญญาณเหล่านี้เกิดจากกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตนอกโลกซึ่ง Dr Stairs เห็นต่างว่า
“สัญญาณเหล่านั้นมาจากทั่วทุกมุมโลก และระยะทางที่แตกต่างกันมาก – ซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับกาแล็กซีหลายแห่ง” เธอบอกกับสำนักข่าวนิวส์เดย์
“ดูเหมือนว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นอารยธรรมมนุษย์ต่างดาว ในการตัดสินใจที่จะสร้างสัญญาณประเภทเดียวกันในลักษณะเดียวกัน แต่เกิดสถานที่ต่างกันนั้น มันเป็นไปได้ยากมาก”
(1950)