กิ้งก่าคอพัด Sarada

ก็อวดคอไปเลยสิคะ Sarada คือหนึ่งในสายพันธุ์กิ้งก่าคอพัด ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศอินเดีย ลักษณะโดยทั่วไปคือจะมีหัวขนาดเล็ก ลำตัวมีเกล็ดขนาดใหญ่ มีความยาวตลอดลำตัวได้มากสุด 13 นิ้ว จุดเด่นอยู่ที่ผิวหนังใต้ลำคอที่สามารถยืดออกเป็นแผงได้เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งเจ้า Sarada superba จะโดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมตระกูลตรงที่สายพันธุ์อื่นเหนียงคอจะมีสีน้ำตาลคล้ายกับสีของลำตัว ในขณะที่สายพันธุ์นี้จะมีสีสดงดงามกว่า

“กิ้งก่าคอพัดใหญ่” หรือ “กิ้งก่าคอพัดซาราด้า” (Superb large fan-throated lizard, Sarada lizard) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sarada superba เป็นกิ้งก่าชนิดหนึ่ง ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) ซึ่งพบได้ในรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย กิ้งก่าชนิดนี้ถูกจำแนกในปี 2016 แยกออกมาจากสายพันธุ์ Sitana ponticeriana ด้วยลักษณะพิเศษที่แตกต่างกัน

มันเป็นกิ้งก่าขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร โดยบนลำตัวจะมีเกล็ดขนาดใหญ่ โดยเฉพาะบริเวณใต้คอ หรือเหนียงที่จะยืดออกมาคล้ายกับใบพัดขนาดใหญ่ ซึ่งเจ้าลักษณะพิเศษนี้เอง ที่เป็นเอกลักษณ์ของพวกมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงฤดูผสมพันธุ์ ที่ตัวผู้ใช้แผงใต้คอขนาดใหญ่นี้ ในการดึงดูดความสนใจจากตัวเมียนั่นเอง ซึ่งพฤติกรรมนี้คล้ายกับกิ้งก่าหลาย ๆ ชนิดในวงศ์เดียวกัน แต่เจ้ากิ้งก่าสายพันธุ์นี้นั้น มีความโดดเด่นเป็นอย่างมากในด้านสีสัน

แผงใต้คอขนาดใหญ่นี้จะประกอบไปด้วยสีน้ำเงินฟ้าสดใส สีดำ และสีแดง ซึ่งตัดกับสีร่างกายสีน้ำตาลของมันเป็นอย่างยิ่ง ถ้าหากมองมาจากไกล ๆ ก็ต้องเห็นแผงคอสีสดนี้ก่อนอย่างแน่นอน โดยตัวผู้จะยืนอยู่บนโขดหิน และชูคอ หรือยืน 2 ขา เพื่อแสดงแผงคอสีสดนี้ให้สูง จะได้เห็นชัด ๆ อีกทั้งยังทำการกระพือ ขึ้นลงพร้อมหันไปหันมาอีกด้วย แน่นอนว่าตัวเมียก็ต่างถูกอกถูกใจ และเข้ามาหาพวกมันอย่างแน่นอน

ภาพ Rushikesh Deshmukh DOP

(132)