กว่าจะเป็น “ดินสอ” เครื่องเขียนคู่ใจ

เคยสงสัยบ้างไหมว่า “ดินสอ” ที่ใครๆ ก็เคยใช้ เกิดขึ้นมาจากไหน ทำจากอะไร แล้วทำไมจึงมีรูปร่างหน้าตาแบบนี้

ดินสอไม้ ชื่อก็บอกแล้วว่าทำจากไม้ มีชั้นเคลือบบางๆ อยู่ภายนอก มียางลบตรงก้น มีแกนกลางสีดำที่ทำจากแกรไฟต์ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดสี ดินเหนียว และน้ำ นี่คือส่วนผสมที่ลงตัวที่สุดในการสร้างดินสอไม้ สักแท่ง ซึ่งอัตราส่วนผสมเหล่านี้ต้องใช้เวลาหลายศตวรรษ กว่าจะพัฒนาจนลงตัวที่สุด

แกรไฟต์’
แกรไฟต์

‘แกรไฟต์’ หินที่เขียนบนไหนก็ติด
เรื่องราวของดินสอ เริ่มต้นจากการค้นพบ ‘แกรไฟต์’ วัตถุดิบชนิดหนึ่งที่ต่อให้ผ่านไปกี่ร้อยปีก็ยังใช้ทำไส้ดินสออยู่ ย้อนกลับไปราวๆ 400 ปีที่แล้ว ในช่วงเวลาที่ผู้คนส่วนใหญ่ยังใช้ปากกาขนนกจุ่มหมึกในการเขียนหนังสือ คนเลี้ยงแกะจากหมู่บ้านเล็กๆ ในประเทศอังกฤษ ค้นพบหินสีดำจำนวนมาก บริเวณหลุมภายใต้ต้นไม้ที่ถูกพายุพัดถอนรากถอนโคนไปจนหมด หินสีดำเนื้ออ่อนที่เมื่อลองนำมาขีดเขียนก็พบว่ามีสีเข้ม คมชัดดี ไม่ต่างจากน้ำหมึก ชาวบ้านจึงเริ่มนำหินชนิดนี้มาขีดเขียนลงบนตัวแกะ หรือทำเครื่องหมายบนสินค้า เพื่อบอกรายละเอียดอย่างชนิด จำนวน และราคาของสินค้านั้นๆแกรไฟต์ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะใช้เขียนใช้วาด หรือแม้แต่เป็นส่วนผสมในกระสุนปืนใหญ่ แน่นอนว่าช่วงเวลานั้นมีสงครามน้อยใหญ่มากมายเกิดขึ้นในยุโรป ทำให้ในที่สุดแกรไฟต์ก็ขาดตลาด

จนกระทั่งในปี 1795 นิโคลาส แจ๊ค คอนเต้ หัวหน้านักเคมี และนักประดิษฐ์ชั้นแนวหน้าของฝรั่งเศส ค้นพบวิธีการบดแกรไฟต์ นำมันมาผสมเข้ากับดินเหนียวและน้ำ ทำให้มันดูคล้ายก้อนแป้งเปียก ก่อนจะนำไปกดลงแม่พิมพ์แล้วเผา

ในยุคแรกแท่งแกรไฟต์จะถูกใช้แบบเพียวๆ ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับความสกปรกเลอะเทอะ คนยุคนั้นจึงมักใช้เชือก กระดาษ หรือผ้า พันแกรไฟต์ไว้ก่อนจะเขียน ภายหลังมีการคิดค้นวิธีการนำไม้มาประกบเข้ากับไส้ดินสอ มนุษย์จึงเริ่มมีดินสอไม้ที่กลายเป็นต้นตำรับของดินสอมาจนถึงปัจจุบัน

(1084)