เครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยโปลิโอ

เครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยโปลิโอ เครื่องช่วยหายใจ เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจด้วยตัวเองได้อย่างเต็มที่ อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น อาการเจ็บป่วยรุนแรง หรือการผ่าตัด ซึ่งถือว่ามีประโยชน์ต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วยอย่างมาก ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยจึงควรทำความรู้จักกับอุปกรณ์ชนิดนี้ รวมถึงวิธีการใช้ที่ถูกต้อง เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

เครื่องช่วยหายใจ ถูกเชื่อมต่อกับผู้ป่วยด้วยท่อกลวงที่ส่งออกซิเจนไปยังผู้ป่วย จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้เอง โดยมักใช้ในช่วงระยะสั้น ๆ เท่านั้น เช่น ระหว่างการผ่าตัดที่ต้องใช้ยาสลบ แต่มีบางรายที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจในระยะยาวหรือตลอดชีวิตด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เครื่องช่วยหายใจเป็นเพียงอุปกรณ์ช่วยชีวิต เพื่อประคับประคองการหายใจของผู้ป่วยไปจนกว่าอาการจะดีขึ้นเท่านั้น ไม่อาจช่วยรักษาโรคได้ ผลการรักษาจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับเครื่องช่วยหายใจ

ในช่วงปี 1940s – 1950s นอกจากตู้ช่วยหายใจด้วยความดันอากาศที่เรียกกันว่า “ปอดเหล็ก” หรือ Negative Pressure Ventilation แล้ว ยังมีอุปกรณ์ช่วยหายใจที่ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงมาก และไม่จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยเข้าไปอยู่ในตู้ทั้งตัว เรียกว่า Cuirass shell

อุปกรณ์นี้จะมีลักษณะคล้ายเสื้อเกราะ ซึ่งจะครอบด้านหน้าของลำตัวบริเวณช่วงท้องและอก ใช้สายรัดรอบลำตัวเพื่อให้ขอบของอุปกรณ์แนบติดลำตัว ด้านหน้ามีท่อต่อเพื่อควบคุมแรงดันอากาศ และมีมาตรวัดความดันติดอยู่
ในภาพเป็นเด็กหญิงที่ป่วยเป็นโปลิโอวัย 3 ปี ที่ชื่อว่า Peggy Kennedy ถ่ายโดย Brian Walsh เมื่อปี 1956 ที่นอกจากจะใช้อุปกรณ์ช่วย

หายใจดังกล่าวแล้ว เธอยังกำลังทำการบำบัดโดยการดูลูกเป็ดอาบน้ำในอ่าง ซึ่งเป็นยุคแรกของการใช้สัตว์ช่วยบำบัดผู้ป่วยในโรงพยาบาลอีกด้วย

(54)