หมึกแก้ว Galiteuthis phyllura

ใช้เจลใส่ผมยี่ห้ออะไร หมึกแก้ว Galiteuthis phyllura จัดเป็นสายพันธุ์ย่อยของ Glass Squid หรือ Cockatoo squid พบได้ในมหาสมุทรที่ระดับความลึกตั้งแต่ 300-1000 เมตร ผิวของหมึกมีลักษณะใส จนสามารถมองเห็นอวัยวะที่อยู่ภายในได้ ตัวโตเต็มที่มีขนาดความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร กินสัตว์น้ำรวมถึงหมึกที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร

 

หมึกแก้วที่ตัวใสจะมีอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็นพวกหมึกกล้วยน้ำลึก (ปลาหมึกกล้วยแก้ว glass squid, หนวด 10 เส้น) กับอีกกลุ่ม กลุ่มหมึกสาย (ปลาหมึกสายแก้ว glass octopus, หนวด 8 เส้น) ปลาหมึกกล้วยแก้ว เป็นปลาหมึกทศบาท อยู่ในกลุ่มหมึกกล้วยน้ำลึก จัดอยู่ในวงศ์ Cranchiidae หมึกวงศ์นี้อย่างน้อย 13 สกุล กว่า 60 ชนิด รูปร่างและขนาดจึงมีความหลากหลายสูง ตั้งแต่ 40 มม. ไปจนถึง 3 เมตร (เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลก)

หมึกวงศ์นี้พบได้ทั่วโลก ในเขตร้อนและกึ่งร้อน อาศัยอยู่ในเขตน้ำลึก บางชนิดขึ้นมาหากินใกล้ผิวน้ำในช่วงเวลากลางคืน ลำตัวค่อนข้างบอบบาง บางชนิดเหมือนวุ้น โปร่งแสง อันเป็นที่มาของชื่อหมึกแก้ว ซึ่งเป็นวิวัฒนาการวิธีการพรางตัวแบบหนึ่งที่ดูจะเหมาะกับโลกมืดในเขตน้ำลึก

นอกจากนั้นยังมีอวัยวะเรืองแสงจำนวนมาก มักจะอยู่แถวตา(ที่มีขนาดใหญ่) หรืออวัยวะภายใน เพื่อใช้สื่อสารและล่อเหยื่อ หมึกกลุ่มนี้ลอยตัวอยู่ได้โดยของเหลวแอมโมเนียมคลอไรด์ที่มีความหนาแน่นต่ำในช่องตัว ช่วยให้ลอยตัวได้โดยไม่ต้องออกแรงมาก เสริมด้วยท่อพ่นน้ำขนาดใหญ่สำหรับการเคลื่อนที่เร็ว ปกติระหว่างลอยตัวมักจะรวบหนวดชูขึ้นมาเหนือหัว จนดูเหมือน นกกระตั้ว (cockatoo bird) เรียกว่า “ท่านกกระตั้ว” แต่คนไทยอาจจะเห็นเป็นท่า “พนมมือ” ก็เป็นได้

พฤติกรรมนี้สันนิษฐานว่า ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงน้อย จะเป็นการล่อให้เหยื่อและศัตรูไปสนใจที่ปลายหนวดที่มีอวัยวะเรืองแสงอยู่ หันเหความสนใจไปจากส่วนลำตัว ลูกหมึกมักมีรูปร่างต่างจากตัวเต็มวัยมาก ลักษณะดังกล่าวประกอบกับการอาศัยในเขตน้ำลึก ทำให้ตัวอย่างและข้อมูลชีวประวัติมีน้อย และการจัดระบบทางอนุกรมวิธานยังไม่ชัดเจน

ภาพ MBARI

(159)