ในศตวรรษที่ 17 Antonie van Leeuwenhoek (1632-1723) นักวิทยาศาสตร์ชาวดัตช์ต้องการจะรู้ว่าเพราะอะไรสมุนไพรต่างๆ จึงมีรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ เขาจึงแช่พืชลงในน้ำ และนำไปส่องในกล้องจุลทรรศน์ แม้ว่าความตั้งใจของเขาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่กลับเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบแบคทีเรีย
Van Leeuwenhoek ได้รับฉายาว่าเป็น “บิดาแห่งจุลชีววิทยา” และสิ่งที่เขาทำเมื่อศตวรรษที่ 17 ก็ได้จุดประกายให้ Martin Oeggerli ช่างภาพของ National Geographic ที่เชี่ยวชาญและหลงใหลในวิทยาศาสตร์ทำการทดลองนี้อีกครั้ง ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope) ที่ทำให้เห็นรายละเอียดที่ชัดเจนมากขึ้น และเติมสีให้กับส่วนต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นส่วนที่ทำให้สมุนไพรและเครื่องเทศ มีรสชาติและกลิ่นแบบที่เราคุ้นเคยกัน
รสชาติของพืชเหล่านี้มีความสำคัญในฐานะอาวุธชีวภาพที่ใช้ในการป้องกันตัวจากภัยคุกคาม บางชนิดใช้เพื่อป้องกันหอยทาก บางชนิดป้องกันแกะ และบางชนิดความเผ็ดร้อนก็ช่วยป้องกันแมลงได้
ข้อมูลจาก National Geographic
(1107)