ฤดูฝนเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนมากกว่าฤดูอื่นๆ เนื่องจากถนนเปียกลื่นกว่าปกติ และทัศนวิสัยในการมองเห็นไม่ดี เพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในช่วงฤดูฝน เรามีวิธีขับรถอย่างปลอดภัยในช่วงฤดูฝนมาฝากกัน
ตัวแปรหลักที่เกี่ยวข้องได้แก่
- การขับเคลื่อนของรถ เกิดจากแรงปฏิกิริยาของผิวแรงเสียดทานของถนนกับยาง
- น้ำมีแรงตึงระหว่างโมเลกุล และแรงตึงผิวก็น้อยมาก เมื่อไปแซกอยูระหว่างถนนกับยางทำให้สัมประสิทธฺ์ แรงเสียดทานของยางกับถนนลดลง
- สสารเคลื่อนจากจุดที่มีพลังงานสูงไปยังจุดที่มีพลังงานต่ำ ในกรณีของน้ำ คือไหลจากที่สูลงที่ต่ำกว่า
- ถนน ทางโค้ง จะมีมุมเอียงของผิวถนนลงสู่ด้านในของทางโค้ง
- ถนนใดจะมีระบบระบายน้ำออกจาผิวถนน โดยจะมีมุมเอียงลงเพื่อให้น้ำไหลออก
การขับรถในช่วงฝนตก
ฝนที่ตกในช่วงแรกจะทำให้ถนนลื่นที่สุด ฝนที่ตกในช่วงแรกจะทำให้การขับขี่ยากที่สุดเพราะ โคลน และ น้ำมันที่อยู่บนพื้นผิวจะรวมตัวกับน้ำฝน กลายเป็นชั้นผิวลื่นๆบนพื้นถนน ดังนั้นคุณต้องเพิ่มความระมัดระวังอย่างมากในช่วงที่ฝนตก
เปิดใบปัดน้ำฝน โดยปรับระดับความเร็วของใบปัดน้ำฝน ให้สัมพันธ์กับความแรงและปริมาณฝนที่ตกลงมา
การใช้น้ำฉีดกระจก ในช่วงที่ฝนเริ่มตก น้ำที่กระเด็นจากการดีดจะมีลักษณะเหนียวคล้ายโคลน ในกรณีนี้ แม้จะใช้เปิดก้านปัดน้ำฝนปัดก็ไม่สามารถปัดออกได้หมด จึงควรใช้น้ำฉีดกระจกช่วยชะล้างคราบโคลนเหล่านี้ แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือ ไม่ควรฉีดน้ำในขณะที่ขับรถด้วยความเร็วสูง เพราะจะทำให้ไม่สามารถมองเห็นเส้นทางได้ชัดเจน
หากฝนตกหนัก ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉิน ในกรณีที่ฝนตกหนัก ไม่สมควรที่จะเปิดไฟฉุกเฉิน เนื่องจากไฟฉุกเฉินมีไว้เพื่อกรณีฉุกเฉินเท่านั้น และจะทำให้แยกไม่ออกหากมีรถที่ได้รับอุบัติเหตุเปิดไฟฉุกเฉินและจอดที่ข้างทาง รวมทั้งจะไม่สามารถให้สัญญาณเมื่อต้องการเปลี่ยนเลน ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายจากการที่รถที่ตามมาด้านหลังคาดเดาทิศทางของรถไม่ได้
เปิดไฟหน้า-หลังรถ เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงที่ฝนตกหนักมักมืดครึ้มคล้ายช่วงหัวค่ำ ทำให้ผู้ขับขี่มองเห็นเส้นทางไม่ชัดเจน การเปิดไฟหน้า-หลังรถนอกจากจะช่วยให้ผู้ขับขี่มองเห็นเส้นทางดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ผู้ขับขี่รถคันอื่นเห็นรถของเราได้ชัดเจนมากขึ้นด้วย
ลดความเร็ว จากการศึกษาพบว่า ช่วงที่ฝนเริ่มตกใน 10 นาทีแรก เป็นช่วงที่รถมีโอกาสลื่นไถลมากที่สุด เพราะน้ำฝนจะชะล้างคราบดินและฝุ่นละอองที่ติดอยู่บนพื้นถนนซึ่งมีลักษณะคล้ายการละเลงโคลน ดังนั้น การลดความเร็วของรถ จึงเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ ซึ่งระดับความเร็วที่ทำให้รถไม่เกิดการลื่นไถล คือ 60 ก.ม./ช.ม.
ไม่ขับรถชิดคันหน้ามากเกินไป เพราะสภาพถนนที่เปียกลื่น ทำให้ต้องใช้ระยะทางในการหยุดรถเพิ่มขึ้น ผู้ขับขี่ ควรเว้นระยะห่างจากรถคันหน้ามากกว่าการขับขี่ในช่วงปกติ 10-15 เมตร เพื่อให้สามารถหยุดรถได้ทัน
หากขณะขับรถแล้วรถลื่นไถลหรือเหินน้ำ ห้ามเหยียบเบรกจนล้อหยุดหมุนในทันที เพราะจะทำให้รถพลิกคว่ำได้ ให้แก้ไขด้วยการถอนคันเร่ง ควบคุมพวงมาลัยให้มั่นคงแล้วพยายามลดความเร็วโดยใช้เกียร์ต่ำจนกว่ารถจะ ทรงตัวได้ แล้วจึงค่อยเหยียบเบรกเพื่อหยุดรถ
การขับรถผ่านเส้นทางที่มีน้ำท่วมขัง ผู้ขับขี่ควรหยุดประเมินสถานการณ์ และขับรถผ่านถนนในบริเวณที่มีน้ำท่วมขังน้อยที่สุดและระมัดระวังในการขับผ่านถนนที่มีลักษณะนูนเป็นหลังเต่า เพราะหากขับรถเบี่ยงออกนอกเส้นทาง อาจทำให้รถจมน้ำได้ ขับรถโดยใช้เกียร์ 1 เร่งเครื่องให้รอบสูงแล้วเหยียบคลัทช์ เพื่อให้ความเร็วต่ำ แต่อย่าให้รอบต่ำ จะทำให้เครื่องดับกลางน้ำได้ ไม่ขับรถเร็วเกินไป เพราะจะทำให้มีน้ำกระเด็นเข้าเครื่องยนต์ อีกทั้งระวังน้ำที่อาจกระเด็นจากรถคันอื่นเข้าไปในห้องเครื่อง เพราะจะทำให้เครื่องยนต์ดับหรือรถลอยซึ่งจะทำให้ควบคุมรถได้ยากขึ้น หากมีน้ำท่วมสูง อย่าขับรถลุยน้ำโดยเด็ดขาด เพราะรถอาจถูกพัดไปตามกระแสน้ำได้
เพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในช่วงฝนตก ผู้ขับขี่ควรตรวจสอบสภาพยาง ใบปัดน้ำฝน ระบบสัญญาณไฟให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี และหมั่นเติมน้ำในกระปุกฉีดน้ำฝนอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งเลือกใช้ยางที่มีดอกยางละเอียด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะถนนและหยุดรถ ตลอดจนเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่มากกว่าปกติ ไม่ขับรถด้วยความเร็วสูง และเว้นระยะห่างจากรถคันอื่นให้มากกว่าปกติ
ทำให้เบรกแห้งหลังจากลุยน้ำด้วยการแตะเบรคเบาๆ เพื่อให้ผ้าเบรคแห้ง หลังจากลุยน้ำหรือแอ่งน้ำ.
อย่าขับรถขณะอ่อนล้า หยุดพักทุกๆ 2-3 ชั่วโมง หรือ ทุกๆ 100 กิโลเมตร เพื่อบรรเทาความเมื่อยล้า.
(3294)